ปศุสัตว์เดินหน้า รับรองสมุดประจำตัวม้า (TEF Passport) กรมปศุสัตว์ร่วมกับสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ประชุมความร่วมมือจัดทำโครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า

ปศุสัตว์เดินหน้า รับรองสมุดประจำตัวม้า (TEF Passport) กรมปศุสัตว์ร่วมกับสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ประชุมความร่วมมือจัดทำโครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า ตามข้อตกลงในบันทึกความร่วมมือ (MOU) เพื่อเตรียมการขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness Free Status) ของประเทศไทย พร้อมทั้งขออนุมัติให้รับรองหนังสือประจำตัวม้าของสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย (TEF Passport) ในวันพุธที่ 28 ตุลาคม 2563 เวลา 10.00 น. นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ และคณะเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ พร้อมกับ คุณเฉลิมฉาน ยศวิริยะพานิชย์ รองเลขาธิการสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย คุณปพิชญา สาระภี และ คุณปิยะธิดา ยอดที่รัก เจ้าหน้าที่สมาคม เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือในการจัดทำโครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า ณ ตึกชัยอัศวรักษ์ กรมปศุสัตว์ ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญในการประชุมโดยทางกรมปศุสัตว์ ได้รับรองหนังสือประจำตัวม้าของสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย (TEF Passport) ให้สามารถใช้แทนสมุดประจำตัวม้าของปศุสัตว์ และใช้เป็นเอกสารสำคัญในการระบุตัวตนม้าได้ ในกรณีที่เคลื่อนย้ายม้าด้วยสมุดประจำตัวม้าของกรมปศุสัตว์ ให้แนบเอกสารที่พิมพ์จากระบบ NID ของกรมปศุสัตว์ควบคู่ด้วย ถึงจะทำการเคลื่อนย้ายได้ พร้อมทั้ง การขึ้นทะเบียนม้าโดยระบบ NID เพื่อการตรวจสอบหรือประกอบการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ อีกทั้ง ได้หารือการวางแผนและกำหนดเงื่อนไขในการเคลื่อนย้ายม้า ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันตามมาตรการของกรมปศุสัตว์

การประชุมคณะอนุกรรมการ ฝ่ายกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง กีฬานักเรียนนักศึกษา และกีฬามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2 / 2563

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม 2563 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย อาคารเคี่ยนหงวน

Equestrian Coaching Course #2

23-24 October 2020 at Royal Stable Unit, Bangkok.

Equestrian Coaching Course #2 during HRH Princess Sirivannavari Nariratana Rajakanya, THA Dressage Rider has conducted National Equestrian Coaching Course, In order to educate local in coaches in Thailand during 23-24 October 2020 at Royal Stable Unit, Bangkok.

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จพระราชดำเนินไปยังหน่วยม้าทรงประจำพระองค์ทรงพระราชทานการสอนในหลักสูตรครูสอนขี่ม้า Coaching Course ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 23-24 ตุลาคม 2563 เพื่อให้เป็นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะแก่ครูขี่ม้าในประเทศไทย

ทีมขี่ม้าโอลิมปิคอีเว้นติ้งไทย ทยอยเก็บแต้มในการควอลิฟายกับม้าตัวสำรอง

Photo Cr. Aline Cerisier (FRA) & Thailand Equestrian Federation

ทีมขี่ม้าโอลิมปิคอีเว้นติ้งไทย ทยอยเก็บแต้มในการควอลิฟายกับม้าตัวสำรองความคืบหน้าเกี่ยวกับทีมขี่ม้าอีเว้นติ้งไทย หลังจากที่การแข่งขันโอลิมปิกได้ถูกเลื่อนออกไปจากเดิมในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2020 เป็น 2021 เนื่องจากผลกระทบจากการระบาด Covid_19 ทำให้คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee -IOC) และเจ้าภาพญี่ปุ่นตัดสินใจเลื่อนการแข่งขันออกไป ชนิดกีฬาขี่ม้า เป็นกีฬาที่มีม้าเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญในการแข่งขัน ซึ่งต้องมีความมั่นใจว่า คู่คนและม้าจำต้องมีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้สหพันธ์กีฬาขี่ม้านานาชาติ(FEI) เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวและรวมไปถึงความปลอดภัย จึงประกาศให้นักกีฬาที่เคยผ่านการควอลิฟายด์ หรือผ่าน (Minimum Eligible Requirement – MERs) มาแล้วในปี 2020 จำเป็นต้องทำการควอลิฟายด์หรือผ่าน MERs กับม้าหลักอีกหนึ่งครั้งในระดับ 4*S (Four Star) อีกหนึ่งก่อนวันที่ 21 มิถุนายน 2021 เพื่อเป็นการยืนยันความสามารถในการเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกในปี 2021นัท กรธวัช สำราญ กับม้าคู่ใจตัวหลัก Uster และบอมบ์ วีรภัฏ ปิฏกานนท์ กับม้าหลัก Chateau De Versailles ใช้เวลาฝึกซ้อมในประเทศฝรั่งเศส ในระหว่างสถานการณ์ Covid_19 อย่างต่อเนื่องและเมื่อสหภาพยุโรปปลดล็อก เริ่มกลับมาจัดการแข่งขันเมื่อช่วงสิงหาคม ที่ผ่านมา ทั้งคู่ก็สามารถโชว์ฟอร์มเก็บแต้มควอลิฟายด์ 4*S กับม้าคู่ใจตัวหลัก ได้ตามข้อกำหนดเป็นที่เรียบร้อย โดยในระหว่างนี้สมาคมแห่งประเทศไทย นำโดยคุณฮาราลด์ ลิงค์ นายกสมาคมเล็งเห็นถึงการมีม้าสำรอง เพื่อเตรียมทีมในกรณีฉุกเฉิน จึงสนับสนุนม้าสำรองบางส่วน เพื่อให้นักกีฬาได้ฝึกซ้อมและแข่งขันเพื่อเตรียมความพร้อมของม้าและแผนสำรองเผื่อมีความจำเป็นต้องใช้ในอนาคตหากเกิดการบาดเจ็บของม้าหลักขึ้นก่อนการแข่งโอลิมปิกนักกีฬาขี่ม้าไทยทั้งสองก็ได้เริ่มเก็บแต้มกับม้าตัวสำรอง ล่าสุด บอมบ์ วีรภัฎ ปิฏกานนท์ กับ ม้าสำรอง Carnival March ตะลุยผ่านด่าน 3*L เป็นที่เรียบร้อยจากการแข่งขันในประเทศฝรั่งเศสเมื่อช่วงสุดสับดาห์ที่ผ่านมา เตรียมรอเข้าแข่งขัน 4*S และ 4*L ที่คาดไว้ว่าจะเสร็จสิ้นก่อน มิถุนายน 2021 และนัท กรธวัช สำราญ กับม้าสำรอง Bonero K. ก็ผ่านการควอลิฟายด์ และรอเก็บ MERs ในการแข่งระดับ 4*L อีกครั้งเดียวเท่านั้นในขณะที่มิ้น อาริย์ณัฎฐา ชวตานนท์ หลังจากเกิดอุบัติเหตุเมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีการรักษาและกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง คาดว่าสามารถเตรียมกลับไปเก็บแต้มกับม้าตัวหลักในระดับ 4*S ภายได้ถายในต้นปี 2021ในระหว่างการเกิดโรคระบาดม้าAfrican Horse Suckness (AHS) ในประเทศไทย ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำให้หลายฝ่ายเป็นกังวลว่าม้าจากประเทศไทยจะไม่สามารถออกไปแข่งและเข้าร่วมการแข่งโอลิมปิกได้ แต่เนื่องจากม้าทีมอีเว้นติ้งไทยทั้งหมด ได้รับการดูแลและฝึกซ้อมอยู่กับโค้ชชาวฝรั่งเศส Maxime Livio ที่เมือง Saumur ประเทศฝรั่งเศส และมีแผนจะเดินทางตรงไปเข้าร่วมการแข่งขัน Olympic Games ที่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงเดือนสิงหาคม 2021 จึงไม่น่ามีข้อกลังวลในเรื่องการเดินทางดังกล่าว

“โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ณ ชมรมขี่ม้าทหารม้ารักษาพระองค์

สมาคมเดินหน้าต่อไปอีกก้าวกับ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ตามนโยบายการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ เพื่อขอคืนสภาพปลอดโรคกับองค์กรสุขภาพสัตว์โลก (OIE)เมื่อวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563 เวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา

ผศ.น.สพ.ดร. เมธา จันดา ประธานคณะกรรมการฝ่ายสัตวแพทย์ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สมาคม และนิสิตสัตวแพทย์อาสาสมัคร ชั้นปีที่ 6 คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมเดินทางไปยัง ชมรมขี่ม้าทหารม้ารักษาพระองค์ (ROYAL HORSE GUARD) โดยมี พันโท ศันสนะ เพ็ชร์สุข เป็นประธานชมรม และมี ร้อยเอก ชยพล ลาภจิตร สัตวแพทย์ประจำชมรม ร่วมดำเนินการจัดทำ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ที่จัดทำทะเบียนประวัติม้าทุกตัวในพื้นที่ของชมรม/สโมสรสมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้มีการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ (MOU : Public Private Partnership, PPP) ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนประชากรม้าอย่างละเอียด เพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบในการชี้แจงการขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า(African Horse Sickness Free Status) ของประเทศไทย กับทางองค์การสุขภาพสัตว์โลก(OIE)

ข้อมูลสรุปประชากรม้า ชมรมขี่ม้า ทหารม้ารักษาพระองค์ (ROYAL HORSE GUARD) ตั้งอยู่ เลขที่ 206/665 ถ.พหลโยธิน สามเสนใน พญาไท กรุงเทพมหานคร มีจำนวนม้า รวมทั้งสิ้น 192 ตัวในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณสโมสร สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการขอคืนสภาพปลอดโรคแอฟริกาในม้าแก่ประเทศไทยในอนาคต หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนย้ายม้าในสโมสรของท่าน กรุณาติดต่อสำนักงานเลขาธิการสมาคมฯ ที่เบอร์ติดต่อ 02-255-9188 เพื่อปรับปรุงและอัพเดทข้อมูลต่อไป

“โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ณ สโมสรไทยโปโล แอนด์ อีเควสเตรียน คลับ

สมาคมเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ตามนโยบายการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ เพื่อขอคืนสภาพปลอดโรคกับองค์กรสุขภาพสัตว์โลก (OIE)เมื่อวันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม 2563 เวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย เดินทางไปยัง สโมสรไทยโปโล แอนด์ อีเควสเตรียน คลับ (THAI POLO & EQUESTRIAN CLUB) โดยมีคุณฮาราลด์ ลิงค์ เป็นประธานชมรม และมี น.สพ.ธีรพล สถาพร สัตวแพทย์ประจำสโมสร ร่วมดำเนินการจัดทำ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ที่จัดทำทะเบียนประวัติม้าทุกตัวในพื้นที่ของชมรม/สโมสรสมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้มีการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ (MOU : Public Private Partnership, PPP) ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนประชากรม้าอย่างละเอียด เพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบในการชี้แจงการขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า(African Horse Sickness Free Status) ของประเทศไทย กับทางองค์การสุขภาพสัตว์โลก(OIE)ข้อมูลสรุปประชากรม้า สโมสรไทยโปโล แอนด์ อีเควสเตรียน คลับ (THAI POLO & EQUESTRIAN CLUB) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 111 หมู่ 9 ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีจำนวนม้า รวมทั้งสิ้น 208 ตัวในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณสโมสร สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการขอคืนสภาพปลอดโรคแอฟริกาในม้าแก่ประเทศไทยในอนาคต หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนย้ายม้าในสโมสรของท่าน กรุณาติดต่อสำนักงานเลขาธิการสมาคมฯ ที่เบอร์ติดต่อ 02-255-9188 เพื่อปรับปรุงและอัพเดทข้อมูลต่อไป

คุณค่าและค่านิยมที่เป็นเอกลักษณ์ของกีฬาขี่ม้า (Unique Core Value of Equestrian)

• ความเท่าเทียมกันที่มีมาแต่ช้านาน (Equality) กีฬาขี่ม้าเป็นกีฬาประเภทเดียวที่ไม่มีการแบ่งเพศอายุ สัญชาติหรือศาสนา กล่าวคือนักกีฬาสามารถแข่งร่วมกันได้ไม่ว่าหญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ ขึ้นอยู่กับความสารมารถของคนและม้า
• ความเคารพซึ่งกันและกัน (Respect)ในการแข่งขันขี่ม้า การให้ความเคารพต่อตนเอง เคารพผู้อื่น เคารพสังคม เคารพกติกาเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง รวมไปถึงความเข้าใจในตัวม้า ให้ความเคารพในฐานะสิ่งมีชีวิตที่ประกอบให้การเล่นกีฬาชนิดนี้สมบูรณ์แบบ ลองนึกดูว่าหากไม่มีม้า เราจะเรียกมันว่ากีฬาขี่ม้าได้อย่างไร
• สวัสดิภาพของม้าเป็นสิ่งสำคัญ (Welfare)ม้าและผู้ขี่เสมือนหนึ่งนักกีฬา (Complicity)ตามกล่าวไปข้างต้นแล้วนั้น สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “ม้า” นับเป็นอีกหนึ่งนักกีฬา ที่เราให้ความสำคัญมาเป็นอันดับแรก ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูเสมือนเป็นผู้เล่นที่สำคัญอีกหนึ่งชีวิต ซึ่งการดูแลนั้นต้องคลอบคลุมไปถึงสวัสดิภาพต่างๆ ที่ต้องให้ความใส่ใจอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าเป็นคอกที่อยู่ อาหารที่ให้ สุขภาพที่ดี การขนส่งแบบถูกต้องและปลอดภัย พื้นผิวสนามที่ใช้ฝึกซ้อมเหมาะสม การรักษาที่ดีเมื่อเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บโดยผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ ในหลายการแข่งขัน และหลายโอกาส ถึงแม้ว่าผู้ขี่มีความพร้อมเป็นอย่างมาก แต่ถ้า”ม้า” มีการแสดงอาการหรือสภาพไม่พร้อม ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการเลี้ยงดูไม่ถูกต้อง หรือบาดเจ็บ ก็อาจถูกตัดสิทธิ์และหมดโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันได้
• เล่นกีฬาอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม (FairPlay)ซึ่งเป็นแนวคิดทางการกีฬา ในการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดต่อการเคารพกฏ กติกา มารยาทของสังคมกีฬานั้น ไม่เอาเปรียบ ไม่โกง รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย หากจำเป็นต้องประท้วง เพื่อเรียกสิทธิความถูกต้อง ก็ทำตามแบบแผนที่มีขอบเขตข้อกำหนดและเงื่อนไขที่มีกำหนดไว้