สถานการณ์การระบาดของโรคระบาด”กาฬโรคในม้า (African Horse Sickness)” ประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2563

โดยมีรายระเอียดเป็นข้อสรุปดังนี้

! วันนี้ยังพบการตายเพิ่มของม้าในบางจังหวัด (เพชรบุรีจำนวน 1 ตัว และสระบุรี จำนวน 3 ตัว) และมีเขตพื้นที่ระบาดและเฝ้าระวังเพิ่มเติม

!! แต่ก็มีบางจังหวัดหรือบางพื้นที่ ที่จำนวนการตาย”ไม่” เพิ่มขึ้น เป็นเวลาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เช่น ชัยภูมิ ชลบุรี สระแก้ว ราชบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์

!!! อย่างไรก็ตามควรตระหนัก ถึงการเฝ้าระวัง ป้องกันแมลงดูดเลือด กางมุ้ง และยังคงต้องงดการเคลื่อนย้ายโดดเด็ดขาด เพื่อให้ม้าทุกตัวปลอดภัย

!!!! จำนวนการใช้วัคซีนที่ปรากฏใน Info Graphic ดังกล่าว เป็นการใช้ในเขตพื้นที่เกิดโรคระบาด คือ 1. จุดเกิดโรค (Infected zone 20 km / วงไข่แดง) และ 2. พื้นที่ควบคุม (Protection zone 50km /วงไข่ขาว) ตามมาตรการของกรมปศุสัตว์เท่านั้น (อัพเดทวันที่ 13 พฤษภาคม 63)

**หมายเหตุ**….
🐎📕 ม้าสีแดง- พื้นที่ที่มีม้าเสียชีวิตจากโรคระบาด African Horse Sickness Outbreak Area

 🐎📒 ม้าสีเหลือง
– พื้นที่ที่มีม้าเสียชีวิต และรอผลชันสูตร
– พื้นที่ที่มีการเคลื่อนย้ายม้าจากจุดที่มีการแพร่ของโรคระบาด
– พื้นที่ที่มีการตรวจสอบพบว่ามีการเคลื่อนย้ายม้าจากจุดแพร่ระบาดของโรค และยังอยู่ในระยะเฝ้าระวัง หากพ้นระยะเฝ้าระวัง(2-20 วัน)แล้ว ไม่มีการรายงาน การพบโรคระบาดในพื้นที่ดังกล่าว สัญลักษณ์ม้าสีเหลืองจะถูกนำออกจากแผนที่ แต่หากพบหรือมีผลการตรวจเป็นโรค AHS สัญลักษณ์ม้าจะถูกเปลี่ยนเป็นสีแดงทันที
Suspected Outbreak Area

ข้อมูล: กรมปศุสัตว์ /สโมสร ชมรมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย / กลุ่มผู้เลี้ยงม้า **Remark** (updated and published on 17 May 2019

ประชาสัมพันธ์ “แผนปฏิบัติการกำจัดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness : AHS)

ประชาสัมพันธ์ “แผนปฏิบัติการกำจัดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness; AHS) เพื่อคืนสถานภาพปลอดโรคจากองค์การโรคระบาดระหว่างประเทศของประเทศไทย” จากกรมปศุสัตว์ เพื่อให้การดำเนินการฉีดวัคซีนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งมีเอกสารดังนี้

1. แผนปฏิบัติการกำจัดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness; AHS) เพื่อคืนสถานภาพปลอดโรคจากองค์การโรคระบาดระหว่างประเทศของประเทศไทย”

2. ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่องกำหนดลักษณะการป่วยหรือตายของม้า ม้าลาย ลา ล่อ หรืออูฐ เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า พ.ศ. 25633. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดสัตว์ชนิดอื่นตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2563แผนปฏิบัติการกำจัดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness; AHS) มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกชมรมและสโมสรของสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย จึงขอความร่วมมือจากท่าน โปรดให้ความสำคัญต่อแนวทางการปฏิบัตินี้ เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดต่อสมาชิกทุกท่านหมายเหตุ หนังสือรับเข้า สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2563

สถานการณ์การระบาดของโรคระบาด”กาฬโรคในม้า (African Horse Sickness)” ประจำวันที่ 13 พฤษภาคม 2563

TEF UPDATE : REPORT AND CURRENT SITUATION OF AFRICAN HORSE SICKNESS IN THAILAND AS OF WEDNESDAY 13 MAY 2020 สถานการณ์การระบาดของโรคระบาด”กาฬโรคในม้า (African Horse Sickness)” ประจำวันที่ 13พฤษภาคม 2563 โดยมีรายระเอียดเป็นข้อสรุปดังนี้

! วันนี้ยังพบการตายเพิ่มของม้าในบางจังหวัด (โคราชจำนวน 1 ตัว และสระบุรี จำนวน 6 ตัว) และมีเขตพื้นที่ระบาดและเฝ้าระวังเพิ่มเติม

!! แต่ก็มีบางจังหวัดหรือบางพื้นที่ ที่จำนวนการตาย”ไม่” เพิ่มขึ้น เป็นเวลาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เช่น ชัยภูมิ ชลบุรี สระแก้ว ราชบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์

!!! อย่างไรก็ตามควรตระหนัก ถึงการเฝ้าระวัง ป้องกันแมลงดูดเลือด กางมุ้ง และยังคงต้องงดการเคลื่อนย้ายโดดเด็ดขาด เพื่อให้ม้าทุกตัวปลอดภัย

!!!! จำนวนการใช้วัคซีนที่ปรากฏใน Info Graphic ดังกล่าว เป็นการใช้ในเขตพื้นที่เกิดโรคระบาด คือ 1. จุดเกิดโรค (Infected zone 20 km / วงไข่แดง) และ 2. พื้นที่ควบคุม (Protection zone 50km /วงไข่ขาว) ตามมาตรการของกรมปศุสัตว์เท่านั้น**หมายเหตุ**….

**หมายเหตุ**….
🐎📕 ม้าสีแดง- พื้นที่ที่มีม้าเสียชีวิตจากโรคระบาด African Horse Sickness Outbreak Area

🐎📒 ม้าสีเหลือง – พื้นที่ที่มีม้าเสียชีวิต และรอผลชันสูตร- พื้นที่ที่มีการเคลื่อนย้ายม้าจากจุดที่มีการแพร่ของโรคระบาด- พื้นที่ที่มีการตรวจสอบพบว่ามีการเคลื่อนย้ายม้าจากจุดแพร่ระบาดของโรค และยังอยู่ในระยะเฝ้าระวัง หากพ้นระยะเฝ้าระวัง(2-20 วัน)แล้ว ไม่มีการรายงาน การพบโรคระบาดในพื้นที่ดังกล่าว สัญลักษณ์ม้าสีเหลืองจะถูกนำออกจากแผนที่ แต่หากพบหรือมีผลการตรวจเป็นโรค AHS สัญลักษณ์ม้าจะถูกเปลี่ยนเป็นสีแดงทันทีSuspected Outbreak Areaข้อมูล: กรมปศุสัตว์ /สโมสร ชมรมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย / กลุ่มผู้เลี้ยงม้า **Remark** (updated and published on 14 May 2019

สถานการณ์การระบาดของโรคระบาด”กาฬโรคในม้า (African Horse Sickness)” ประจำวันที่ 10 พฤษภาคม 2563

• ในขณะนี้ยังมีการตายของม้ามากขึ้นในบางจังหวัด และมีเขตพื้นที่ระบาดและเฝ้าระวังเพิ่มเติม เช่น อยุธยาและลพบุรี

• แต่ก็มีบางจังหวัดหรือบางพื้นที่ ที่จำนวนการตาย”ไม่” เพิ่มขึ้น เป็นเวลาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เช่น ชัยภูมิ ชลบุรี สระแก้ว ราชบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์ (กรุณาดูแผนที่ และภาพประกอบ)

• อย่างไรก็ตามควรตระหนัก ถึงการเฝ้าระวัง ป้องกันแมลงดูดเลือด กางมุ้ง และยังคงต้องงดการเคลื่อนย้ายโดดเด็ดขาด เพื่อให้ม้าทุกตัวปลอดภัย

**หมายเหตุ**….
🐎📕 ม้าสีแดง
– พื้นที่ที่มีม้าเสียชีวิตจากโรคระบาด African Horse Sickness Outbreak Area

🐎📒 ม้าสีเหลือง
– พื้นที่ที่มีม้าเสียชีวิต และรอผลชันสูตร
– พื้นที่ที่มีการเคลื่อนย้ายม้าจากจุดที่มีการแพร่ของโรคระบาด
– พื้นที่ที่มีการตรวจสอบพบว่ามีการเคลื่อนย้ายม้าจากจุดแพร่ระบาดของโรค และยังอยู่ในระยะเฝ้าระวัง หากพ้นระยะเฝ้าระวัง(2-20 วัน)แล้ว ไม่มีการรายงาน การพบโรคระบาดในพื้นที่ดังกล่าว สัญลักษณ์ม้าสีเหลืองจะถูกนำออกจากแผนที่ แต่หากพบหรือมีผลการตรวจเป็นโรค AHS สัญลักษณ์ม้าจะถูกเปลี่ยนเป็นสีแดงทันที
Suspected Outbreak Area

ข้อมูล: กรมปศุสัตว์ /สโมสร ชมรมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย / กลุ่มผู้เลี้ยงม้า 09.05.2020

การตรวจเยี่ยมชมรมและสโมสรของสมาคมฯ วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม 2563 ณ ชมรมขี่ม้าอีเควสเทรี่ยน พาราไดซ์

หน่วยม้าทรงประจำพระองค์ฯ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย และกรมปศุสัตว์ ได้ร่วมกันประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกันการ แพร่ระบาดของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness) โดยเน้นย้ำให้ประชาชนตะหนักถึง การสร้างมุ้งป้องกันแมลง ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ แมลงดูดเลือดที่เป็นพาหนะนำโรคสู่ม้า พร้อมทั้งนำเครื่องมือฉีดพ่นสารฆ่าเชื้อโรคบริเวณฟาร์มม้า ให้แก่ สโมสรขี่ม้าฮอร์สมาสเตอร์ และชมรมขี่ม้าอีเควสเทรี่ยน พาราไดซ์

การตรวจเยี่ยมชมรมและสโมสรของสมาคมฯ วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม 2563 ณ สโมสรขี่ม้าฮอร์สมาสเตอร์

หน่วยม้าทรงประจำพระองค์ฯ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย และกรมปศุสัตว์ ได้ร่วมกันประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกันการ แพร่ระบาดของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness) โดยเน้นย้ำให้ประชาชนตะหนักถึง การสร้างมุ้งป้องกันแมลง ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ แมลงดูดเลือดที่เป็นพาหนะนำโรคสู่ม้า พร้อมทั้งนำเครื่องมือฉีดพ่นสารฆ่าเชื้อโรคบริเวณฟาร์มม้า ให้แก่ สโมสรขี่ม้าฮอร์สมาสเตอร์

ประชุมกรรมการชุดพิเศษ ในช่วงสถานการณ์ระบาดของโรค “กาฬโรคแอฟริกาในม้า” (African Horse Sickness) #2

เมื่อวันอังคารที่ 5 พฤษภาคม 2563 เวลา 14.00 น. การประชุมคณะกรรมการชุดพิเศษ ในช่วงสถานการณ์ระบาดของโรค “กาฬโรคแอฟริกาในม้า” (African Horse Sickness) ครั้งที่ 2 ได้จัดขึ้น ณ กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนากีฬาขี่ม้าให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยมี พันเอกสมพงษ์ สุขประดิษฐ เป็นประธานในที่ประชุม พร้อมด้วยคณะกรรมการอีกทั้ง 7 ท่าน คือ นายพฤฒิรัตน์ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์, พันเอกวิทัย ลายถมยา, นายเฉลิมฉาน ยศวิริยะพาณิชย์, นายณกร กมลศิริ, น.สพ.ดร.เมธา จันดา, ร้อยเอกปิยภูมิ ซอน และ นายนารา เกตุสิงห์

ซึ่งประเด็นสำคัญในการประชุม

• สถานการณ์ระบาดของโรค “กาฬโรคแอฟริกาในม้า” (African Horse Sickness)

• มีการติดตามสถานการณ์หลังมีการเริ่มใช้วัคซีน จากเจ้าของม้าถึงอาการหรือผลข้างเคียง เบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงานว่ามีม้าเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน แต่ยังมีกรณีที่ม้าอาจมีไข้ขึ้นสูงในช่วงอาทิตย์แรก และกลับสู่ภาวะปกติเมื่อได้รับการรักษาตามอาการ

• รวมถึงแนวทางในการสื่อสารกับชมรมและสโมสรสมาชิกของสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับเรื่องการใช้วัคซีนและพื้นที่การใช้วัคซีน เพื่อให้ตระหนักถึงขอบเขตและพื้นที่ในการใช้วัคซีนตามข้อกำหนดของปศุสัตว์ในปัจจุบัน ทั้งนี้ กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ ได้มีการฉีดวัคซีนม้าในพื้นที่ เพื่อภารกิจสวนสนามราชวัลลภ ของทหารรักษาพระองค์ ประจำปี พ.ศ.2563 ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2563 เนื่องจากต้องมีการเคลื่อนย้ายม้าในการซ้อมย่อย ซ้อมใหญ่ พิธีจริง และต้องยืมม้าโดยเคลื่อนย้ายม้าจากศูนย์ทหารในพื้นที่อื่นๆ เพื่อทำให้จำนวนม้าเพียงพอต่อภารกิจ และดำเนินการตามมาตรการของกรมปศุสัตว์ ซึ่งมีการตรวจสอบเฝ้าระวังประเมินความเสี่ยงตามแผนปฏิบัติการในการควบคุม ป้องกัน และกำจัดโรค “กาฬโรคแอฟริกาในม้า” (African Horse Sickness)

• นอกจากนี้คณะทำงานยังเตรียมรวมรวมข้อมูล เพื่อใช้ทำงานควบคู่ไปกับกรมปศุสัตว์ และ OIE สำหรับแผนการจัดการแข่งขันกีฬาขี่ม้าในอนาคตต่อไปอีกด้วย

หมายเหตุ: รูปแผนที่และโซนการใช้วัคซีน 20กม. (วงสีแดง) และ 50กม (วงสีขาว) จัดทำขึ้นโดยคณะทำงานชุดพิเศษใช้สำหรับประกอบการประชุมคณะทำงานและเป็นการวางแผนในการดำเนินงานของสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย เท่านั้น

สถานการณ์การระบาดของโรคระบาด”กาฬโรคในม้า (African Horse Sickness)” ประจำวันที่ 6 พฤษภาคม 2563 เวลา 12.00 น.

***พบการตายของม้าเพิ่มใน
– จังหวัดสระบุรี เดิมจำนวน 13 ตัว เพิ่มเป็น 15 ตัว
– จังหวัดเพชรบุรีจากเดิม 32 ตัว เพิ่มเป็น 34 ตัว
– จังหวัดนครราชสีมาจากเดิม 422 ตัว เพิ่มเป็น 428 ตัว

**หมายเหตุ**….
🐎📕 ม้าสีแดง
– พื้นที่ที่มีม้าเสียชีวิตจากโรคระบาด African Horse Sickness Outbreak Area

🐎📒 ม้าสีเหลือง
– พื้นที่ที่มีม้าเสียชีวิต และรอผลชันสูตร
– พื้นที่ที่มีการเคลื่อนย้ายม้าจากจุดที่มีการแพร่ของโรคระบาด
– พื้นที่ที่มีการตรวจสอบพบว่ามีการเคลื่อนย้ายม้าจากจุดแพร่ระบาดของโรค และยังอยู่ในระยะเฝ้าระวัง หากพ้นระยะเฝ้าระวัง(2-20 วัน)แล้ว ไม่มีการรายงาน การพบโรคระบาดในพื้นที่ดังกล่าว สัญลักษณ์ม้าสีเหลืองจะถูกนำออกจากแผนที่ แต่หากพบหรือมีผลการตรวจเป็นโรค AHS สัญลักษณ์ม้าจะถูกเปลี่ยนเป็นสีแดงทันที
Suspected Outbreak Area

ข้อมูล: กรมปศุสัตว์ 05.05.2020

สถานการณ์การระบาดของโรคระบาด”กาฬโรคในม้า (African Horse Sickness)” ประจำวันที่ 4 พฤษภาคม 2563 เวลา 12.00 น.

***พบการตายของม้าเพิ่มใน
– จังหวัดสระบุรี เดิมจำนวน 11 ตัว เพิ่มเป็น 13 ตัว
– จังหวัดนครราชสีมาจากเดิม 419 ตัว เพิ่มเป็น 422 ตัว

**หมายเหตุ**….
🐎📕 ม้าสีแดง
– พื้นที่ที่มีม้าเสียชีวิตจากโรคระบาด African Horse Sickness Outbreak Area

🐎📒 ม้าสีเหลือง
– พื้นที่ที่มีม้าเสียชีวิต และรอผลชันสูตร
– พื้นที่ที่มีการเคลื่อนย้ายม้าจากจุดที่มีการแพร่ของโรคระบาด
– พื้นที่ที่มีการตรวจสอบพบว่ามีการเคลื่อนย้ายม้าจากจุดแพร่ระบาดของโรค และยังอยู่ในระยะเฝ้าระวัง หากพ้นระยะเฝ้าระวัง(2-20 วัน)แล้ว ไม่มีการรายงาน การพบโรคระบาดในพื้นที่ดังกล่าว สัญลักษณ์ม้าสีเหลืองจะถูกนำออกจากแผนที่ แต่หากพบหรือมีผลการตรวจเป็นโรค AHS สัญลักษณ์ม้าจะถูกเปลี่ยนเป็นสีแดงทันที
Suspected Outbreak Area

ข้อมูล: กรมปศุสัตว์ 03.05.2020