We are pleased to announce a selection of the combinations that will participate at the Tokyo Olympic Games 2020/2021

This decision was made together with the appointed team coach, Maxime Livio Thailand Equestrian Federation led by President Dr. Harald Link and supporters of this adventure.

The combination by alphabetical order:
• Arinadtha Chavatanont (Mint)
🐴 Boleybawn Prince
Owned by
1. PRASERT CHAVATANONT
2. KANCHANAPORN CHAVATANONT
• Korntawat Samran
🐴 Bonero K
Owned by
1. HARALD LINK and B.GRIMM
• Weerapat Pitakanonda (Bomb)
🐴 Carnival March.
Owned by
1. HARALD LINK
2. NUNTHINEE TANNER
3. SUREEPORN PITAKANONDA

We will be accompanied by a full team:
Nara Ketusingha – Team Manager
Maxime Livio – Coach
Olivier Geffrey – Veterinarian
Arnaud Mottais – Farrier
Mathilde Montginoux – Head Groom
Pauline Gervais – Groom
Suphachai Sukhampha – Groom
MF Solution – Mental preparation

THA equestrian team would like to thank you especially, @Serge Balbin for all their daily work and all the energy he has put for years to make this possible.

A big thank you to Sport Authority of Thailand (SAT), Thailand Olympic Committee (THANOC), and B.Grimm, the biggest equestrian supporter in Thailand.

Also, sponsors which are following, they will be supported by the full team: Horse Pilot, Freejump, Antarès Sellier, Royal Horse, Greenpex, Ohlala Sellerie, Hoofgold

#Tokyo2020🇯🇵#Ecurielivio#TEFthailand#THANOC#SAT#BGRIMM

Credit Photo: Solene Bailly

เจ้าภาพกีฬามหาวิทยาลัยพร้อม!!การหารือการจัดแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 “ดอกจานบ้านเชียงเกมส์ “

เมื่อวันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564 เวลา 13:30 น. ที่ผ่านมานายณกร กมลศิริ ประธานอนุกรรมการฝ่ายกีฬานักเรียนนักศึกษา สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย (TEF) พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยเข้าพบรองอธิการบดี ผศ.ดร.กฤตฏ์ ชมภูวิเศษ และคณะอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เจ้าภาพการจัดแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 “ดอกจานบ้านเชียงเกมส์ “ การแข่งกีฬาของนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย มีกำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 4 – 17 ธันวาคม 2564เพื่อหารือถึงแนวทางการจัดแข่งขันกีฬาขี่ม้าที่ได้รับการบรรจุเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งมีประเด็นเกี่ยวกับการเตรียมสถานที่สู่การดำเนินการจัดแข่งขันให้มีความพร้อมและมีศักยภาพสูงสุดในทุกด้าน โดยการจัดแข่งขันกีฬาขี่ม้าครั้งนี้ ได้กำหนดให้มีการจัดแข่งขันทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ศิลปะบังคับม้า (Dressage), กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง (Jumping) และขี่ม้าเอ็นดูแร็นซ์ (Endurance) โดยจะดำเนินการตรวจสอบสถานที่และพิจารณาพื้นที่เพื่อจัดเป็นสนามแข่งขันกีฬาขี่ม้าตามลำดับต่อไปทางมหาวิทยาลัยมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะช่วยผลักดันและเปิดโอกาสให้นักกีฬาขี่ม้าได้แสดงศักยภาพ อีกทั้ง ทางสมาคมฯ ยังพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการจัดการแข่งขันอย่างเต็มที่ในทุกๆด้าน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายในการพัฒนานักกีฬาขี่ม้ารุ่นเยาวชนสู่นักกีฬาขี่ม้าในอนาคตของชาติต่อไป นอกจากนี้สมาคมพร้อมวางแผนจัดการแข่งขันให้สอดคล้องต่อสถานการณ์โรคระบาดคน (Covid_19) และม้า (African Horse Sickness) เพื่อให้การแข่งขันดำเนินการได้และไม่ขัดต่อการคืนสถานะภาพของประเทศไทยในอนาคตอีกด้วย#TEF#TEFthailand#UniversityGames2021#Equestrian#Dresaage#Jumping#Endurance#สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย

สมาคมขี่ม้า จ่อคิวเปิดฤดูกาลการแข่งขันปลายปีนี้ ซึ่งได้มีการประกาศบรรจุกีฬาขี่ม้า ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย “ดอกจานบ้านเชียงเกมส์” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้ สมาคมเตรียมประกาศจัดการแข่ง 3 รายการหลัก Princess’s Cup, Thailand Championship และ President’s Cup ในช่วงค่อนปลายปี ที่อาจมีรูปแบบพิเศษเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรค Covid-19 และโรคระบาดม้า African Horse Sickness ที่มีแนวโน้มดีขึ้นหลังจากไม่พบการตายของม้ามานานกว่า 9 เดือน อีกทั้ง ทางปศุสัตว์ได้ทยอยลงวัคซีน AHS เข็มที่ 2 อย่างเต็มความสามารถ และดำเนินการไปได้กว่า 80% ของจำนวนม้าที่อยู่ในพื้นที่ที่มีประวัติการระบาดของโรค AHS และที่เคยได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 มาก่อนหน้านี้ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จ 100% อย่างเรียบร้อย ภายในปลายเดือนมิถุนายน 2564

เน้นยำ!! การดูแลม้าหลังจากที่ได้รับวัคซีนให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักการที่เคยได้ปฏิบัติมาก่อนหน้านี้ งดการเคลื่อนย้ายจนกว่าการดำเนินการฉีดวัคซีน AHS เข็มที่ 2 “จนแล้วเสร็จในทุกพื้นที่ที่ต้องได้รับตามมาตราการ” และเพื่อให้แน่ใจว่า “เชื้อเป็น” ในวัคซีนไม่หลงเหลือในตัวม้า (โดยประมาณ 30-45 วัน หลังจากได้รับวัคซีน) เจ้าของม้าสามารถส่งเลือดม้าไปตรวจที่หน่วยงานที่สามารถยืนยันผลด้วยวิธี PCR ได้ เช่น หน่วยงานชันสูตรโรคสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน หน่วยงานชันสูตรโรคสัตว์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา หรือหน่วยชันสูตรโรค African Horse Sickness (AHS) ที่ตรวจรับรองผลด้วยเทคนิค PCR ซึ่งจะต้องมีผลตรวจโรค AHS = Negative หรือเป็นลบเท่านั้น ก่อนเข้าพื้นที่การแข่งขัน

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ชมรม/สโมสรสมาชิกมีความประสงค์ที่จะจัดการแข่งขันภายในพื้นที่ หรือเตรียมความพร้อมที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในปลายปี 2564 สมาคมขอแจ้งให้ชมรม/สโมสรสมาชิกและเจ้าของม้าทราบว่า หลังจากที่ม้าได้ทำการฉีดวัคซีน AHS แล้ว และหากท่านมีความประสงค์จะจัดแข่งขันภายใน หรือนำม้าออกไปเข้าร่วมการแข่งขัน ทางสมาคมขอแนะนำให้ท่านโปรดคำนึงถึงการตรวจหาเชื้อ AHS ให้มีผลเป็นลบ และปฏิบัติตามขั้นตอนในการขออนุญาตเคลื่อนย้ายม้าจากกรมปศุสัตว์อย่างเคร่งครัดและถูกต้องเป็นสำคัญ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบต่อการคืนสภาพปลอดโรค AHS ของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ที่ทางสมาคมจะจัดการแข่งขันขึ้น และให้การแข่งขันกลับมาสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุด โดยอาศัยความร่วมมือจากชมรม/สโมสรและนักกีฬาทุกท่าน* การจัดการแข่งขันภายในของชมรม/สโมสรสมาชิก โดยไม่มีการเคลื่อนย้ายม้าเข้าหรือออกจากพื้นที่ สามารถดำเนินการจัดได้ตามปกติ ยกเว้นในกรณีที่ม้าได้สโมสรได้รับการฉีด AHS (เข็มที่2) ควรคำนึงถึงระยะเวลาพักม้าที่เหมาะสมก่อนนำกลับมาฝึกซ้อม และคำนึงถึงสวัสดิภาพของม้าเป็นสำคัญ* การจัดแข่งขันภายในของชมรม/สโมสรสมาชิก โดยมีการเชิญชมรม/สโมสรอื่นๆที่อยู่ในเขตพื้นที่สถานะเดียวกันเข้าเพื่อร่วมการแข่งขัน ผู้จัดการแข่งขันจำเป็นต้องให้ผู้ที่เข้าร่วม มีเอกสารดังนี้ 1. ผลการตรวจโรคที่ให้ผลเป็นลบ ตามข้อกำหนดของสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 1.1 Equine intectious anemia (ตรวจด้วยวิธี AGRD; coggin’s test หรือวิธีที่มีความจำเพาะสูงกว่า)1.2 Surra (ตรวจวิธี blood smear หรือ buffy coat หรือวิธีที่มีความจำเพาะสูงกว่า)1.3 African horse sickness (AHS) (ตรวจด้วยวิธี PCR หรือวิธีที่มีความจำเพาะสูงกว่า) 2. หนังสือประจำตัวม้าทีมีการลงทะเบียนอย่างถูกต้องของสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย (TEF) หรือสหพันธ์ขี่ม้านานาชาติ (FEI) 3. เอกสารการขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ตามระเบียบของกรมปศุสัตว์ เป็นต้นโปรดดูลิงค์ข้อมูลด้านล่างเพิ่มเติม

คุณสมบัติของม้าในการแข่งขัน ประจำปี 2564

PDF : https://drive.google.com/…/17OIfk9…/view…

Equine movement traceability

PDF : https://drive.google.com/…/1NXn7ifTe873TO…/view…

สมาคมขี่ม้า จ่อคิวเปิดฤดูกาลการแข่งขันปลายปีนี้ ซึ่งได้มีการประกาศบรรจุกีฬาขี่ม้า ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย “ดอกจานบ้านเชียงเกมส์” ระหว่างวันที่ 8 – 17 ธันวาคม 2564

นอกจากนี้ สมาคมเตรียมประกาศจัดการแข่ง 3 รายการหลัก Princess’s Cup, Thailand Championship และ President’s Cup ในช่วงค่อนปลายปี ที่อาจมีรูปแบบพิเศษเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรค Covid-19 และโรคระบาดม้า African Horse Sickness ที่มีแนวโน้มดีขึ้นหลังจากไม่พบการตายของม้ามานานกว่า 9 เดือน อีกทั้ง ทางปศุสัตว์ได้ทยอยลงวัคซีน AHS เข็มที่ 2 อย่างเต็มความสามารถ และดำเนินการไปได้กว่า 80% ของจำนวนม้าที่อยู่ในพื้นที่ที่มีประวัติการระบาดของโรค AHS และที่เคยได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 มาก่อนหน้านี้ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จ 100% อย่างเรียบร้อย ภายในปลายเดือนมิถุนายน 2564เน้นยำ!! การดูแลม้าหลังจากที่ได้รับวัคซีนให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักการที่เคยได้ปฏิบัติมาก่อนหน้านี้ งดการเคลื่อนย้ายจนกว่าการดำเนินการฉีดวัคซีน AHS เข็มที่ 2 “จนแล้วเสร็จในทุกพื้นที่ที่ต้องได้รับตามมาตราการ” และเพื่อให้แน่ใจว่า “เชื้อเป็น” ในวัคซีนไม่หลงเหลือในตัวม้า (โดยประมาณ 30-45 วัน หลังจากได้รับวัคซีน) เจ้าของม้าสามารถส่งเลือดม้าไปตรวจที่หน่วยงานที่สามารถยืนยันผลด้วยวิธี PCR ได้ เช่น หน่วยงานชันสูตรโรคสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน หน่วยงานชันสูตรโรคสัตว์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา หรือหน่วยชันสูตรโรค African Horse Sickness (AHS) ที่ตรวจรับรองผลด้วยเทคนิค PCR ซึ่งจะต้องมีผลตรวจโรค AHS = Negative หรือเป็นลบเท่านั้น ก่อนเข้าพื้นที่การแข่งขันอย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ชมรม/สโมสรสมาชิกมีความประสงค์ที่จะจัดการแข่งขันภายในพื้นที่ หรือเตรียมความพร้อมที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในปลายปี 2564 สมาคมขอแจ้งให้ชมรม/สโมสรสมาชิกและเจ้าของม้าทราบว่า หลังจากที่ม้าได้ทำการฉีดวัคซีน AHS แล้ว และหากท่านมีความประสงค์จะจัดแข่งขันภายใน หรือนำม้าออกไปเข้าร่วมการแข่งขัน ทางสมาคมขอแนะนำให้ท่านโปรดคำนึงถึงการตรวจหาเชื้อ AHS ให้มีผลเป็นลบ และปฏิบัติตามขั้นตอนในการขออนุญาตเคลื่อนย้ายม้าจากกรมปศุสัตว์อย่างเคร่งครัดและถูกต้องเป็นสำคัญ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบต่อการคืนสภาพปลอดโรค AHS ของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ที่ทางสมาคมจะจัดการแข่งขันขึ้น และให้การแข่งขันกลับมาสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุด โดยอาศัยความร่วมมือจากชมรม/สโมสรและนักกีฬาทุกท่าน* การจัดการแข่งขันภายในของชมรม/สโมสรสมาชิก โดยไม่มีการเคลื่อนย้ายม้าเข้าหรือออกจากพื้นที่ สามารถดำเนินการจัดได้ตามปกติ ยกเว้นในกรณีที่ม้าได้สโมสรได้รับการฉีด AHS (เข็มที่2) ควรคำนึงถึงระยะเวลาพักม้าที่เหมาะสมก่อนนำกลับมาฝึกซ้อม และคำนึงถึงสวัสดิภาพของม้าเป็นสำคัญ* การจัดแข่งขันภายในของชมรม/สโมสรสมาชิก โดยมีการเชิญชมรม/สโมสรอื่นๆที่อยู่ในเขตพื้นที่สถานะเดียวกันเข้าเพื่อร่วมการแข่งขัน ผู้จัดการแข่งขันจำเป็นต้องให้ผู้ที่เข้าร่วม มีเอกสารดังนี้ 1. ผลการตรวจโรคที่ให้ผลเป็นลบ ตามข้อกำหนดของสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 1.1 Equine intectious anemia (ตรวจด้วยวิธี AGRD; coggin’s test หรือวิธีที่มีความจำเพาะสูงกว่า)1.2 Surra (ตรวจวิธี blood smear หรือ buffy coat หรือวิธีที่มีความจำเพาะสูงกว่า)1.3 African horse sickness (AHS) (ตรวจด้วยวิธี PCR หรือวิธีที่มีความจำเพาะสูงกว่า) 2. หนังสือประจำตัวม้าทีมีการลงทะเบียนอย่างถูกต้องของสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย (TEF) หรือสหพันธ์ขี่ม้านานาชาติ (FEI) 3. เอกสารการขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ตามระเบียบของกรมปศุสัตว์ เป็นต้น

โปรดดูลิงค์ข้อมูลด้านล่างเพิ่มเติม

คุณสมบัติของม้าในการแข่งขัน ประจำปี 2564
PDF : https://drive.google.com/…/17OIfk9…/view…

Equine movement traceability
PDF : https://drive.google.com/…/1NXn7ifTe873TO…/view…#TEF#regaincountrystatus#AHSfree

บรรจุกีฬาขี่ม้าในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 “ดอกจานบ้านเชียงเกมส์ 2021”

สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี บรรจุกีฬาขี่ม้าในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 “ดอกจานบ้านเชียงเกมส์ 2021”

โดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เจ้าภาพจัดกีฬามหาวิทยาลัยปี 2564 ได้มีการบรรจุกีฬาขี่ม้าในการแข่งขันดังกล่าวที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วงเดือน ธันวาคม 2021 จะประกอบไปด้วย การแข่งขันประเภทศิลปะบังคับม้า (Dressage) กระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง (Jumping) และขี่ม้าเอ็นดูแรนซ์ (Endurance) รายละเอียดตารางการแข่งขัน และสถานที่จัดการแข่งขัน จะแจ้งให้ทราบในลำดับต่อไป สมาคมขอความร่วมมือสมาชิกสมาคมที่มีนักกีฬาขี่ม้าที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ แจ้งเตือนและดำเนินการติดต่อกองกิจการนิสิตของมหาวิทยาลัยเพื่อเตรียมดำเนินการลงทะเบียนนักกีฬาต่อไป

#Tefthailand#Equestrian#TEF#ThailandUniversityGames2021#USBT#UdonThaniRajabhatUniversity

นักกีฬาขี่ม้าอีเว้นติ้งไทยคอนเฟิร์มตั๋ว ”ทีม” โอลิมปิคแดนอาทิตย์อุทัย

นักกีฬาขี่ม้าอีเว้นติ้งไทยคอนเฟิร์มตั๋ว ”ทีม” โอลิมปิคแดนอาทิตย์อุทัย หลังจากสถานการณ์โควิดระบาด ทำให้เจ้าภาพโอลิมปิค 2020 ต้องเลื่อนการแข่งขันออกมา 1 ปี ทำให้สหพันธ์กีฬาขี่ม้านานาชาติ (Federation Equestrian Federation – FEI) ผู้กับกำกับดูกีฬาขี่ม้าในระดับโลก ออกกฏให้นักกีฬาทั้งคนและม้า จำเป็นต้องผ่านการแข่งขันควอลิฟายด์ เพิ่มในระดับ 4ดาว (CCI4*S) อีกหนึ่งครั้งภายในวันที่ 21 มิถุนายน 2021 เพื่อรักษามาตราฐาน คงความสามารถในการแข่งขันระดับสูงและคำนึงถึงความปลอดภัยและสวัสดิภาพของม้าโดยนักกีฬาขี่ม้าไทยที่ผ่านการคัดเลือกจนรอบสุดท้ายประกอบด้วย นัท กรธวัช สำราญ นักกีฬาของทีมคนแรกที่สามารถควอลิฟายด์กับม้าคู่ใจ ตัวหลักและสำรอง (Uster และ Bonero K) ตามกฏเกณฑ์ที่ทางสหพันธ์ได้เพิ่มมาตั้งแต่เมื่อปลายปี 2020 ที่ผ่านมา เช่นเดียวกันกับ บอม วีรภัฏ ปิฏกานนท์ กับม้าหลัก Chateau De Versailles ที่รักษาระดับความสามารถและผ่านกฏเกณฑ์ตามข้อกำหนดของสหพันธ์ที่เพิ่มเติมหลังจากกีฬาโอลิมปิคได้ถูกเลื่อนออกมาอีก 1 ปีล่าสุด หลังจากการพักฟื้นร่างการหลังอุบัติเหตุ มิ้น อาริย์ณัฎฐา ชวตานนท์ กับม้าหลัก Boleybown Prince โชว์ฟอร์มเต็มที่เก็บแต้มและควอลิฟายด์ผ่านเกณฑ์ของสหพันธ์ขี่ม้านานาชาติ ในรายการแข่งขัน Baborowko CCI4*S ณ ประเทศโปแลนด์ ระหว่างวันที่ 27-30 พฤษภาคม 2021 ทำให้ทีมขี่ม้าอีเว้นติ้งสามารถยืนยันสิทธิ์ในโควต้าประเภททีมไว้ได้ในการเข้าร่วมการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิคเกมส์ 2020/2021 นอกจากนี้ ในรายการแข่งขัน Baborowko บอม วีรภัฎ ยังสามารถควอลิฟายด์คู่กับม้าสำรอง Carnival March ในระดับ CCI4*L ในรายการนี้ได้อีกด้วยดูผลการแข่งขันตามลิงค์ด้านล่าง

https://zawodykonne.com/zawody/199/live

ท่ามกลางกระแสข่าวการคัดค้าน การจัดแข่งขันโตเกียวโอลิมปิค แต่เจ้าภาพยังมิได้มีประกาศความคืบหน้าถึงการยกเลิกอย่างเป็นทางการ มีเพียงการยกระดับและมีมาตราการที่เข้มงวดขึ้นสำหรับการป้องกันโควิด โดยการแจ้งผ่านคณะกรรมการโอลิมปิคของทุกประเทศ (National Olympic Committee) เช่น การตรวจ Covid-19 ก่อนเข้าประเทศญี่ปุ่น เดิมที ทำ 1 ครั้ง ก่อนเดินทาง 72 ชม. แต่ตอนนี้ให้ทำเพิ่มอีกครั้ง เป็นสองครั้งในเวลา 96 และ72 ชม. ตามลำดับ และจะมีการตรวจโควิดทุกวันในระหว่างที่นักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันในประเทศญี่ปุ่น รวมไปถึงการลดจำนวนบัตรผ่านผู้เข้าร่วมทีมอย่างเจ้าของม้า (Horse Owner) ซึ่งสหพันธ์กีฬาขี่ม้า FEI ได้พยายามแจงเหตุผลสำคัญต่อ IOC ถึงความสำคัญของเจ้าของม้าที่มีการยกย่องนับถือเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญต่อกีฬามาอย่างช้านาน จนล่าสุด IOC อนุมัติให้มีบัตรผ่านประเภท เจ้าของม้า (Horse Owner) ต่อไป แต่ลดจำนวนลงจากเดิม 2 สิทธ์ เป็น 1 สิทธิ์ ต่อม้าเท่านั้นหลังจากการแข่งขันที่รายการ Boborowko Poland นักกีฬาขี่ม้าและม้าโอลิมปิคของไทย จะเดินทางกลับไปเก็บตัว ฝึกซ้อม ที่คอกม้า Ecurie Livio ณ ประเทศฝรั่งเศส กับโค้ชชาวฝรั่งเศส Maxime Livio ก่อนเตรียมตัวเดินทางไปกักกันตัว(ม้า)ที่ Aachen ณ ประเทศเยอรมันนี ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2021 ตามข้อกำหนดของผู้จัดการแข่งขันก่อนการเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมการแข่งขันโอลิมปิคในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2021 นี้