การประชุมคณะทำงานชุดพิเศษ ในช่วงสถานการณ์ระบาดของโรค“กาฬโรคแอฟริกาในม้า” (African Horse Sickness) ครั้งที่ 7 / 2563

วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม อาคาร Princess’s Cup กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์

โดยมี พันเอกพณศธร โพธิ์กล่ำ เป็นผู้แทน พันเอกสมพงษ์ สุขประดิษฐ ประธานคณะทำงาน เพื่อดำเนินการประชุม พร้อมด้วยกรรมการและตัวแทนจากหน่วยงาน อีกทั้ง 7 ท่าน คือ คุณพฤฒิรัตน์ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์, คุณเฉลิมฉาน ยศวิริยะพาณิชย์, คุณณกร กมลศิริ, ผศ.น.สพ.ดร.เมธา จันดา, คุณริชาร์ด ฮัมเป, พันตรีวิทยา เสนารัตน์ และ ร้อยเอกเอกลักษณ์ ทองคำ ผู้แทนจากหน่วยม้าทรงประจําพระองค์ มีประเด็นเกี่ยวกับความคืบหน้าสถานการณ์โรคระบาดกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness ; AHS) เช่น มาตรการป้องกันและควบคุมโรค เพื่อขอคืนสถานภาพรับรองปลอดโรคจากองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค สรุปรายงานภูมิคุ้มกันม้า การเก็บตัวอย่างแมลงในจังหวัดโคราช สรุปผลตรวจ AHS และผลการตรวจโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมตามลิงค์ด้านล่าง)

1.มาตรการป้องกันและควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness) เพื่อขอคืนสถานภาพรับรองปลอดโรคจากองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE)
Dowload PDF : https://drive.google.com/…/1ABX3Hne8sHb…/view…
2.Timeline การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness)
Dowload PDF : https://drive.google.com/…/1JvHjn6jMP9LLDIO5…/view…
3.สรุปภูมิคุ้มกันม้า
Dowload PDF : https://drive.google.com/…/1V8HjwQ27V7gXA-Z…/view…
4.เก็บตัวอย่างแมลง โคราชDowload PDF : https://drive.google.com/…/1g…/view…
5.สรุปผลตรวจAHS แบบย่อ
Dowload PDF : https://drive.google.com/…/1eisw9TpPdOYDzu5qGk5…/view…
6.เอกสารวิชาการ ผลการตรวจกาฬโรคแอฟริกาในม้า
Dowload PDF : https://drive.google.com/…/15eDxbeN…/view…
ซึ่งการประชุมได้แจ้งถึงการเข้าร่วมแถลงการณ์เกี่ยวกับโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า กับสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (Foreign Correspondents’ Club of Thailand ; FCCT) การให้คำชี้แจงเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายม้าไปยังพื้นที่อื่น ของคลับสมาชิก และประเด็นการเคลื่อนย้ายมาเพื่อเข้าร่วมแข่งขันกีฬาขี่ม้า หากทางกรมปศุสัตว์ได้ประกาศให้เคลื่อนย้ายได้แล้ว คณะทำงาน AHS จึงมีนโยบายที่จะวางแผนการทำงาน และกำหนดเงื่อนไขในการเคลื่อนย้ายม้าให้สอดคล้องต่อไป

การประชุมคณะกรรมการด้านเฝ้าระวังในม้าลาย ครั้งที่ 2/2563

วันที่ 7 สิงหาคม 2563 เวลา 9:30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานปศุสัตว์เขต 1 จังหวัดปทุมธานี

รายงานผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness)ในม้าลาย จากการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการเฝ้าระวังฯในม้าลาย โดยมีผลการตรวจ และสรุปรายงานผลตามเอกสารดังนี้ รายงานผลการดำเนินงาน คณะกรรมการด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกันในม้า ในม้าลาย Dowload Link for full report: https://drive.google.com/…/1KqmnhOwm-OSoI…/view…

1. สวนสัตว์นครราชสีมา
•มีจำนวนม้าลายทั้งสิ้น 2 ตัว
•เก็บผลเลือดตัวอย่าง 1 ตัว
•ผลการตรวจไม่พบเชื้อจากทั้งสองสองห้องปฏิบัติการ (สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติกรมปศุสัตว์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
2. โบนันซ่า Exotic Zoo (นครราชสีมา)
• มีจำนวนม้าลายทั้งสิ้น 7 ตัว
•เก็บผลเลือดตัวอย่าง 1 ตัว
• ผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัยมหิดลไม่พบเชื้อ แต่ผลจากห้องปฏิบัติการสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติรายงานว่าพบเชื้อ 1 ตัวอย่าง
3. Safari Wild Life Park (ปราจีนบุรี)
•มีจำนวนม้าลายทั้งสิ้น 59 ตัว
•เก็บผลเลือดตัวอย่าง5 ตัว
•ผลจากห้องปฏิบัติการสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติพบเชื้อ 2 ตัวอย่าง แต่ในขณะที่ผลจากห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัยมหิดลพบเชื้อ 3 ตัวอย่าง
4. หัวหินซาฟารี (ประจวบคีรีขันธ์)
•มีจำนวนม้าลายทั้งสิ้น 4 ตัว
•เก็บตัวอย่างเลือด 1 ตัว
•ผลการตรวจไม่พบเชื้อจากทั้งสองสองห้องปฏิบัติการ (สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติกรมปศุสัตว์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
5. บ.เรย์ลินก้า จำกัด
•มีจำนวนม้าลายทั้งสิ้น 235 ตัว•เก็บตัวอย่างเลือด 25 ตัว
•ผลจากห้องปฏิบัติการสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติพบเชื้อ 2 ตัวอย่าง แต่ในขณะที่ผลจากห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัยมหิดลพบเชื้อ 1 ตัวอย่าง
6.สวนสัตว์สนามบินสุโขทัย•มีจำนวนม้าลายทั้งสิ้น 13 ตัว
•เก็บตัวอย่างเลือด 2 ตัว
•ผลจากห้องปฏิบัติการสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติพบเชื้อ 1 ตัวอย่าง
แต่ในขณะที่ผลจากห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัยมหิดลไม่พบเชื้อซึ่งจากผลการเก็บตัวอย่างเลือดในม้าลาย ยังมีผลการตรวจเลือดในม้าลายในบางสถานที่มีความแตกต่างกัน ในที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ จึงมีความเห็นและมติให้ดำเนินการตรวจซ้ำตัวอย่างที่ห้องปฏิบัติการทั้งสอง (สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติกรมปศุสัตว์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) แสดงผลออกมาไม่เหมือนกัน โดยให้ใช้ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสนเป็นห้องปฏิบัติการที่สาม เพื่อเป็นการยืนยันอีกครั้ง โดยจะเร่งให้แล้วเสร็จแล้วแจ้งผลภายในอาทิตย์หน้า และเมื่อทราบผลแล้วจะแจ้งประกาศให้ทราบโดยทั่วกันนอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการควบคุมโรค AHS ในม้าลายและเรื่องเพื่อการพิจารณาทบทวนแนวทางมาตรการการควบคุมโรคแอฟริกาในม้า AHS ในม้าลาย ที่จะนำเสนอในโพสต่อไป อีกสักครู่