สมาคมขี่ม้า จ่อคิวเปิดฤดูกาลการแข่งขันปลายปีนี้ ซึ่งได้มีการประกาศบรรจุกีฬาขี่ม้า ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย “ดอกจานบ้านเชียงเกมส์” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้ สมาคมเตรียมประกาศจัดการแข่ง 3 รายการหลัก Princess’s Cup, Thailand Championship และ President’s Cup ในช่วงค่อนปลายปี ที่อาจมีรูปแบบพิเศษเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรค Covid-19 และโรคระบาดม้า African Horse Sickness ที่มีแนวโน้มดีขึ้นหลังจากไม่พบการตายของม้ามานานกว่า 9 เดือน อีกทั้ง ทางปศุสัตว์ได้ทยอยลงวัคซีน AHS เข็มที่ 2 อย่างเต็มความสามารถ และดำเนินการไปได้กว่า 80% ของจำนวนม้าที่อยู่ในพื้นที่ที่มีประวัติการระบาดของโรค AHS และที่เคยได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 มาก่อนหน้านี้ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จ 100% อย่างเรียบร้อย ภายในปลายเดือนมิถุนายน 2564

เน้นยำ!! การดูแลม้าหลังจากที่ได้รับวัคซีนให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักการที่เคยได้ปฏิบัติมาก่อนหน้านี้ งดการเคลื่อนย้ายจนกว่าการดำเนินการฉีดวัคซีน AHS เข็มที่ 2 “จนแล้วเสร็จในทุกพื้นที่ที่ต้องได้รับตามมาตราการ” และเพื่อให้แน่ใจว่า “เชื้อเป็น” ในวัคซีนไม่หลงเหลือในตัวม้า (โดยประมาณ 30-45 วัน หลังจากได้รับวัคซีน) เจ้าของม้าสามารถส่งเลือดม้าไปตรวจที่หน่วยงานที่สามารถยืนยันผลด้วยวิธี PCR ได้ เช่น หน่วยงานชันสูตรโรคสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน หน่วยงานชันสูตรโรคสัตว์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา หรือหน่วยชันสูตรโรค African Horse Sickness (AHS) ที่ตรวจรับรองผลด้วยเทคนิค PCR ซึ่งจะต้องมีผลตรวจโรค AHS = Negative หรือเป็นลบเท่านั้น ก่อนเข้าพื้นที่การแข่งขัน

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ชมรม/สโมสรสมาชิกมีความประสงค์ที่จะจัดการแข่งขันภายในพื้นที่ หรือเตรียมความพร้อมที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในปลายปี 2564 สมาคมขอแจ้งให้ชมรม/สโมสรสมาชิกและเจ้าของม้าทราบว่า หลังจากที่ม้าได้ทำการฉีดวัคซีน AHS แล้ว และหากท่านมีความประสงค์จะจัดแข่งขันภายใน หรือนำม้าออกไปเข้าร่วมการแข่งขัน ทางสมาคมขอแนะนำให้ท่านโปรดคำนึงถึงการตรวจหาเชื้อ AHS ให้มีผลเป็นลบ และปฏิบัติตามขั้นตอนในการขออนุญาตเคลื่อนย้ายม้าจากกรมปศุสัตว์อย่างเคร่งครัดและถูกต้องเป็นสำคัญ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบต่อการคืนสภาพปลอดโรค AHS ของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ที่ทางสมาคมจะจัดการแข่งขันขึ้น และให้การแข่งขันกลับมาสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุด โดยอาศัยความร่วมมือจากชมรม/สโมสรและนักกีฬาทุกท่าน* การจัดการแข่งขันภายในของชมรม/สโมสรสมาชิก โดยไม่มีการเคลื่อนย้ายม้าเข้าหรือออกจากพื้นที่ สามารถดำเนินการจัดได้ตามปกติ ยกเว้นในกรณีที่ม้าได้สโมสรได้รับการฉีด AHS (เข็มที่2) ควรคำนึงถึงระยะเวลาพักม้าที่เหมาะสมก่อนนำกลับมาฝึกซ้อม และคำนึงถึงสวัสดิภาพของม้าเป็นสำคัญ* การจัดแข่งขันภายในของชมรม/สโมสรสมาชิก โดยมีการเชิญชมรม/สโมสรอื่นๆที่อยู่ในเขตพื้นที่สถานะเดียวกันเข้าเพื่อร่วมการแข่งขัน ผู้จัดการแข่งขันจำเป็นต้องให้ผู้ที่เข้าร่วม มีเอกสารดังนี้ 1. ผลการตรวจโรคที่ให้ผลเป็นลบ ตามข้อกำหนดของสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 1.1 Equine intectious anemia (ตรวจด้วยวิธี AGRD; coggin’s test หรือวิธีที่มีความจำเพาะสูงกว่า)1.2 Surra (ตรวจวิธี blood smear หรือ buffy coat หรือวิธีที่มีความจำเพาะสูงกว่า)1.3 African horse sickness (AHS) (ตรวจด้วยวิธี PCR หรือวิธีที่มีความจำเพาะสูงกว่า) 2. หนังสือประจำตัวม้าทีมีการลงทะเบียนอย่างถูกต้องของสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย (TEF) หรือสหพันธ์ขี่ม้านานาชาติ (FEI) 3. เอกสารการขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ตามระเบียบของกรมปศุสัตว์ เป็นต้นโปรดดูลิงค์ข้อมูลด้านล่างเพิ่มเติม

คุณสมบัติของม้าในการแข่งขัน ประจำปี 2564

PDF : https://drive.google.com/…/17OIfk9…/view…

Equine movement traceability

PDF : https://drive.google.com/…/1NXn7ifTe873TO…/view…

การดำเนินการฉีดวัคซีน AHS ชนิด Monovalent Serotype 1

กรมปศุสัตว์ ขอให้ท่านประสานปศุสัตว์จังหวัด เพื่อดำเนินการฉีดวัคซีน Monovalent Serotype 1 พร้อมกัน ในระหว่างวันที่ 18-31 พฤษภาคม 2564 สามารถดาวโหลดเอกสารแนบ (PDF) ได้ที่นี้…

แผนการกระจายวัคซีนกาฬโรคแอฟริกาในม้า AHS Monovalent Serotype 1 :https://drive.google.com/…/1dvhHXFecuFzTHw3bT…/view…

ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการฉีดวัคซีนกาฬโรคแอฟริกาในม้า (ฉบับที่ 2) :https://drive.google.com/…/1Wc_hgnRpKzyE3Up…/view…

แนวทางการฉีดวัคซีนกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness) ชนิด Monovalent Serotype 1 :https://drive.google.com/…/1voQnrZD1nadf2dpTSxe…/view…#TEF#tefthailand#PPP#DLD#MOU

“โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ณ ชมรมขี่ม้า ตำรวจม้า 191

เดินหน้าต่อ!! ดำเนินการ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ตามนโยบายการลงการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ เพื่อขอคืนสภาพปลอดโรคกับองค์กรสุขภาพสัตว์โลก (OIE)วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2564 เวลา 13.00 น. ที่ผ่านมา

ผศ.น.สพ.ดร.เมธา จันดาประธานคณะกรรมการฝ่ายสัตวแพทย์ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สมาคม และนิสิตสัตวแพทย์อาสาสมัคร ชั้นปีที่ 6 คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เดินทางไปยัง ชมรมขี่ม้า ตำรวจม้า 191 (Mounted Police Club) โดยมี พ.ต.อ. วัชระ เทพแสน เป็นประธานชมรม ร่วมดำเนินการจัดทำ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ที่จัดทำทะเบียนประวัติม้าทุกตัวในพื้นที่ของชมรม/สโมสรสมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้มีการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ (MOU : Public Private Partnership, PPP) ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนประชากรม้าอย่างละเอียด เพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบในการชี้แจงการขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า(African Horse Sickness Free Status) ของประเทศไทย กับทางองค์การสุขภาพสัตว์โลก(OIE)

ข้อมูลสรุปประชากรม้า ชมรมขี่ม้า ตำรวจม้า 191 (Mounted Police Club) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 1271 ถนนเอกชัย แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร มีจำนวนม้า รวมทั้งสิ้น 54 ตัวในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณสโมสร สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการขอคืนสภาพปลอดโรคแอฟริกาในม้าแก่ประเทศไทยในอนาคต

หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนย้ายม้าในสโมสรของท่าน กรุณาติดต่อสำนักงานเลขาธิการสมาคมฯ ที่เบอร์ติดต่อ 02-255-9188 เพื่อปรับปรุงและอัพเดทข้อมูลต่อไป

อัพเดท! เจ้าของม้าชมรม/สโมสร สมาชิก ที่ได้ดำเนินการให้ข้อมูล ตามรูปแบบของระบบที่กรมปศุสัตว์จัดทำ (National Identification – NID)

อัพเดทเพิ่มเติม! เจ้าของม้าชมรม/สโมสร สมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ที่ได้ดำเนินการให้ข้อมูล ตามรูปแบบของระบบที่กรมปศุสัตว์จัดทำ (National Identification – NID) เพื่อให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายม้าได้อย่างปลอดภัย ในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณทั้ง 4 ชมรม / สโมสร ได้แก่

Ubon PonY Club
ชมรมขี่ม้าทหารม้ารักษาพระองค์
Goldenhorseridingclub
บัวทองแก้ว ฟาร์มสเตย์
Nakhon Si Riding Club

ที่ได้ให้ความร่วมมือสำหรับ การให้ข้อมูล ตามรูปแบบของระบบที่กรมปศุสัตว์จัดทำ (National Identification – NID) และสำหรับ เจ้าของม้าชมรม/สโมสร สมาชิกท่านใดต้องการให้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ https://drive.google.com/…/10vX9hYas2hIyaDfnjFR…/view… หรือ ส่งมาได้ที่ E-Mail : [email protected] ทางสมาคมจะมาคอยอัพเดทให้ทราบ และหวังเป็นอย่างยิ่งจะได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในการให้ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยค่ะ

“โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ณ ชมรมขี่ม้า ริเวอร์ไซด์ 92 ฮอร์สไรด์ดิ้ง

สมาคมเดินหน้าต่อ!! ดำเนินการ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ตามนโยบายการลงการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ เพื่อขอคืนสภาพปลอดโรคกับองค์กรสุขภาพสัตว์โลก (OIE)วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา

ผศ.น.สพ.ดร.เมธา จันดาประธานคณะกรรมการฝ่ายสัตวแพทย์ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สมาคม และนิสิตสัตวแพทย์อาสาสมัคร ชั้นปีที่ 6 คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เดินทางไปยัง ชมรมขี่ม้า ริเวอร์ไซด์92 ฮอร์สไรด์ดิ้ง (Riverside92 Horse Riding) โดยมี คุณปฏิการ มุขตารี เป็นประธานชมรม ร่วมดำเนินการจัดทำ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ที่จัดทำทะเบียนประวัติม้าทุกตัวในพื้นที่ของชมรม/สโมสรสมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้มีการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ (MOU : Public Private Partnership, PPP) ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนประชากรม้าอย่างละเอียด เพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบในการชี้แจงการขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า(African Horse Sickness Free Status) ของประเทศไทย กับทางองค์การสุขภาพสัตว์โลก(OIE)

ข้อมูลสรุปประชากรม้า ชมรมขี่ม้า ริเวอร์ไซด์92 ฮอร์สไรด์ดิ้ง (Riverside92 Horse Riding) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 148/2 บีรพันธ์ 3 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 92 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร มีจำนวนม้า รวมทั้งสิ้น 14 ตัวในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณสโมสร สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการขอคืนสภาพปลอดโรคแอฟริกาในม้าแก่ประเทศไทยในอนาคต

หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนย้ายม้าในสโมสรของท่าน กรุณาติดต่อสำนักงานเลขาธิการสมาคมฯ ที่เบอร์ติดต่อ 02-255-9188 เพื่อปรับปรุงและอัพเดทข้อมูลต่อไป

“โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ณ ชมรมขี่ม้าอีเควสเทรี่ยนพาราไดซ์

สมาคมร่วมมือกับขมรม/สโมสร สมาชิก เดินหน้าดำเนินการ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ตามนโยบายการลงการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ เพื่อขอคืนสภาพปลอดโรคกับองค์กรสุขภาพสัตว์โลก (OIE) วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00 น. ที่ผ่านมา

เจ้าหน้าที่สมาคม เดินทางไปยัง ชมรมขี่ม้าอีเควสเทรี่ยนพาราไดซ์ (Equestrian Paradice) โดยมี คุณ สุเนตร บุรกสิกร เป็นประธานชมรม ร่วมดำเนินการจัดทำ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ที่จัดทำทะเบียนประวัติม้าทุกตัวในพื้นที่ของชมรม/สโมสรสมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้มีการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ (MOU : Public Private Partnership, PPP) ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนประชากรม้าอย่างละเอียด เพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบในการชี้แจงการขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า(African Horse Sickness Free Status) ของประเทศไทย กับทางองค์การสุขภาพสัตว์โลก(OIE)

ข้อมูลสรุปประชากรม้า ชมรมขี่ม้าอีเควสเทรี่ยนพาราไดซ์ (Equestrian Paradice) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 9/1 หมู่ 3 คลอง 15 ตำบลคลองใหญ่ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก มีจำนวนม้า รวมทั้งสิ้น 43 ตัวในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณสโมสร สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการขอคืนสภาพปลอดโรคแอฟริกาในม้าแก่ประเทศไทยในอนาคต

หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนย้ายม้าในสโมสรของท่าน กรุณาติดต่อสำนักงานเลขาธิการสมาคมฯ ที่เบอร์ติดต่อ 02-255-9188 เพื่อปรับปรุงและอัพเดทข้อมูลต่อไป

อัพเดท! เจ้าของม้าชมรม/สโมสร สมาชิก ที่ได้ดำเนินการให้ข้อมูล ตามรูปแบบของระบบที่กรมปศุสัตว์จัดทำ (National Identification – NID)

อัพเดทเพิ่มเติม! เจ้าของม้าชมรม/สโมสร สมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ที่ได้ดำเนินการให้ข้อมูล ตามรูปแบบของระบบที่กรมปศุสัตว์จัดทำ (National Identification – NID) เพื่อให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายม้าได้อย่างปลอดภัย ในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณทั้ง 6 ชมรม / สโมสร ได้แก่

บ้านม้าควนพลา
ชมรมขี่ม้าตำรวจ 191
El caballo club
Suphan Horses Sport Club
Chaengwattana Horse Club
Sky White Horse Riding Club สกายไวท์ ฮอร์ส ไรดิ้ง คลับ

ที่ได้ให้ความร่วมมือสำหรับ การให้ข้อมูล ตามรูปแบบของระบบที่กรมปศุสัตว์จัดทำ (National Identification – NID) และสำหรับ เจ้าของม้าชมรม/สโมสร สมาชิกท่านใดต้องการให้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ https://drive.google.com/…/10vX9hYas2hIyaDfnjFR…/view… หรือ ส่งมาได้ที่ E-Mail : [email protected] ทางสมาคมจะมาคอยอัพเดทให้ทราบ และหวังเป็นอย่างยิ่งจะได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในการให้ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยค่ะ

การประชุมหารือการเตรียมขอคืนสภาพการนำเข้าและส่งออกม้าสู่ประเทศสหภาพยุโรป

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม 2564 เวลา 09.30 น.

ณ ห้องประชุมพุทธอุดมสุข ชั้น 2 ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์

โดยมี นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานในที่ประชุม พร้อมคณะเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ ร่วมประชุมกับผู้แทนสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย โดยมี พันเอกสมพงษ์ สุขประดิษฐ อุปนายกสมาคม คุณเฉลิมฉาน ยศวิริยะพานิชย์ รองเลขาธิการสมาคม ผศ.น.สพ.ดร.เมธา จันดา ประธานสัตวแพทย์สมาคม และคุณปพิชญา สาระภี ผู้ช่วยผู้จัดการสมาคมซึ่งประเด็นที่สำคัญจากการประชุม มีการรายงานสถานการณ์การทำงานเพื่อขอคืนสภาพปลอดโรคของกรมปศุสัตว์ ตลอดในช่วงที่เฝ้าระวังและป้องกันโรคที่ผ่านมา และสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอแนวทางในการขอคืนสภาพปลอดโรคและการเคลื่อนย้ายม้าระหว่างยุโรปและประเทศไทย รวมทั้ง การหารือแนวทาง Roadmap รวมถึง การจัดทำเขตปลอดโรคระบาดในม้าเฉพาะพื้นที่ (Equine disease free zone; EDFZ) ในการนี้ ทางปศุสตัว์ เห็นชอบและมีมติรับรอง Dr. Susanne Munstermann ที่ปรึกษาของ OIE ให้เป็นที่ปรึกษาให้กับกรมปศุสัตว์ เพื่อหารือแนวทางในการดำเนินการ ให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามมาตรฐานของสหภาพยุโรป ที่จะขอรับรองให้นำเข้าม้าจากประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยได้กลับมาเป็นประเทศปลอดโรค และสามารถจัดการแข่งขันในระดับนานาชาติได้โดยเร็ว

“โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ณ ชมรมขี่ม้า ลิตเติ้ลบิทฮอร์สเทล

เดินทางต่อ!! สมาคมร่วมมือกับ ชมรมขี่ม้า ลิตเติ้ลบิทฮอร์สเทล ดำเนิน “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ตามนโยบายการลงการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ เพื่อขอคืนสภาพปลอดโรคกับองค์กรสุขภาพสัตว์โลก (OIE)วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2664 เวลา 11.00 น. ที่ผ่านมา

เจ้าหน้าที่สมาคม เดินทางไปยัง ชมรมขี่ม้า ลิตเติ้ลบิทฮอร์สเทล (Little Bit Horse Tale) โดยมี คุณนิธิพร ฤทธิ์อุยานนท์ เป็นประธานชมรม ร่วมดำเนินการจัดทำ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ที่จัดทำทะเบียนประวัติม้าทุกตัวในพื้นที่ของชมรม/สโมสรสมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้มีการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ (MOU : Public Private Partnership, PPP) ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนประชากรม้าอย่างละเอียด เพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบในการชี้แจงการขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า(African Horse Sickness Free Status) ของประเทศไทย กับทางองค์การสุขภาพสัตว์โลก(OIE)

ข้อมูลสรุปประชากรม้า ชมรมขี่ม้า ลิตเติ้ลบิทฮอร์สเทล (Little Bit Horse Tale) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 11/1 ถนนเลียบคลองสิบฝั่งตะวันตก ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี มีจำนวนม้า รวมทั้งสิ้น 10 ตัวในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณสโมสร สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการขอคืนสภาพปลอดโรคแอฟริกาในม้าแก่ประเทศไทยในอนาคต

หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนย้ายม้าในสโมสรของท่าน กรุณาติดต่อสำนักงานเลขาธิการสมาคมฯ ที่เบอร์ติดต่อ 02-255-9188 เพื่อปรับปรุงและอัพเดทข้อมูลต่อไป

“โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ณ ชมรมขี่ม้า โรดิโอ ฮอร์ส ไรด์ดิ้ง

สมาคมร่วมมือกับชมรมขี่ม้า โรดิโอ ฮอร์ส ไรด์ดิ้ง ดำเนิน “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ตามนโยบายการลงการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ เพื่อขอคืนสภาพปลอดโรคกับองค์กรสุขภาพสัตว์โลก (OIE)วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2664 เวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา

เจ้าหน้าที่สมาคม เดินทางไปยัง ชมรมขี่ม้า โรดิโอ ฮอร์ส ไรด์ดิ้ง (Rodeo Horse Riding) โดยมี คุณศิระ สีเสม เป็นประธานชมรม ร่วมดำเนินการจัดทำ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ที่จัดทำทะเบียนประวัติม้าทุกตัวในพื้นที่ของชมรม/สโมสรสมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้มีการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ (MOU : Public Private Partnership, PPP) ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนประชากรม้าอย่างละเอียด เพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบในการชี้แจงการขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า(African Horse Sickness Free Status) ของประเทศไทย กับทางองค์การสุขภาพสัตว์โลก(OIE)

ข้อมูลสรุปประชากรม้า ชมรมขี่ม้า โรดิโอ ฮอร์ส ไรด์ดิ้ง (Rodeo Horse Riding)v ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 42/36 โรดิโอ ฮอร์ส ไรด์ดิ้ง ถนนจตุโชติ แขวงออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร มีจำนวนม้า รวมทั้งสิ้น 11 ตัวในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณสโมสร สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการขอคืนสภาพปลอดโรคแอฟริกาในม้าแก่ประเทศไทยในอนาคต

หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนย้ายม้าในสโมสรของท่าน กรุณาติดต่อสำนักงานเลขาธิการสมาคมฯ ที่เบอร์ติดต่อ 02-255-9188 เพื่อปรับปรุงและอัพเดทข้อมูลต่อไป