“โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ณ ชมรมขี่ม้า เชาวณัฏฟาร์ม

สมาคมจับมือกับสมาชิกชมรม/สโมสรใหม่ เดินหน้าต่อ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ตามนโยบายการลงการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ เพื่อขอคืนสภาพปลอดโรคกับองค์กรสุขภาพสัตว์โลก (OIE) เมื่อวันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม 2563 เวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา

ผศ.น.สพ.ดร.เมธา จันดาประธานคณะกรรมการฝ่ายสัตวแพทย์ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สมาคม และนิสิตสัตวแพทย์อาสาสมัคร ชั้นปีที่ 6 คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมเดินทางไปยัง ชมรมขี่ม้า เชาวณัฏฟาร์ม (Chaowanat Horse Farm) โดยมี คุณสรศักดิ์ เชาวณัฏ เป็นประธานชมรม ร่วมดำเนินการจัดทำ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ที่จัดทำทะเบียนประวัติม้าทุกตัวในพื้นที่ของชมรม/สโมสรสมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้มีการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ (MOU : Public Private Partnership, PPP) ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนประชากรม้าอย่างละเอียด เพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบในการชี้แจงการขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า(African Horse Sickness Free Status) ของประเทศไทย กับทางองค์การสุขภาพสัตว์โลก(OIE)

ข้อมูลสรุปประชากรม้า ชมรมขี่ม้า เชาวณัฏฟาร์ม (Chaowanat Horse Farm) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 206 หมู่ 2 ถนนลาดหญ้าเอราวัณ ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง กาญจนบุรี มีจำนวนม้า รวมทั้งสิ้น 35 ตัวในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณสโมสร สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการขอคืนสภาพปลอดโรคแอฟริกาในม้าแก่ประเทศไทยในอนาคต

หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนย้ายม้าในสโมสรของท่าน กรุณาติดต่อสำนักงานเลขาธิการสมาคมฯ ที่เบอร์ติดต่อ 02-255-9188 เพื่อปรับปรุงและอัพเดทข้อมูลต่อไป

“โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ณ ชมรมขี่ม้า ฟินิกซ์ไรดิ้ง อาคาเดอมี

สมาคมจับมือกับสมาชิก ชมรม/สโมสร เพื่อเดินหน้าต่อ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ตามนโยบายการลงการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ เพื่อขอคืนสภาพปลอดโรคกับองค์กรสุขภาพสัตว์โลก (OIE)เมื่อวันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2563 เวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา

ผศ.น.สพ.ดร.เมธา จันดาประธานคณะกรรมการฝ่ายสัตวแพทย์ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สมาคมฯ ร่วมเดินทางไปยัง ชมรมขี่ม้า ฟินิกซ์ไรดิ้ง อาคาเดอมี (Phoenix Riding Academy) โดยมีพ.อ. เฟื่องวิชชุ์ อนิรุทธเทวา เป็นประธานชมรม และมี สพญ.ณัฐญา เลิศรุ่งอมร สัตวแพทย์ประจำชมรม ร่วมดำเนินการจัดทำ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ที่จัดทำทะเบียนประวัติม้าทุกตัวในพื้นที่ของชมรม/สโมสรสมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้มีการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ (MOU : Public Private Partnership, PPP) ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนประชากรม้าอย่างละเอียด เพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบในการชี้แจงการขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า(African Horse Sickness Free Status) ของประเทศไทย กับทางองค์การสุขภาพสัตว์โลก(OIE)

ข้อมูลสรุปประชากรม้า ชมรมขี่ม้า ฟินิกซ์ไรดิ้ง อาคาเดอมี (Phoenix Riding Academy) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 85 +หมู่ 7 ซอยมหาชัย ถนนบางนา-ตราด กม.10.5 บางพลี สมุทรปราการ มีจำนวนม้า รวมทั้งสิ้น 79 ตัวในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณสโมสร สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการขอคืนสภาพปลอดโรคแอฟริกาในม้าแก่ประเทศไทยในอนาคต

หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนย้ายม้าในสโมสรของท่าน กรุณาติดต่อสำนักงานเลขาธิการสมาคมฯ ที่เบอร์ติดต่อ 02-255-9188 เพื่อปรับปรุงและอัพเดทข้อมูลต่อไป

“โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ณ สโมสรกีฬาขี่ม้าโกลด์เด้นฮอร์ส

สมาคมเดินหน้าอย่างต่อเนื่องกับ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ตามนโยบายการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ เพื่อขอคืนสภาพปลอดโรคกับองค์กรสุขภาพสัตว์โลก (OIE)เมื่อวันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม 2563 เวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา

ผศ.น.สพ.ดร. เมธา จันดา ประธานคณะกรรมการฝ่ายสัตวแพทย์ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สมาคม และนิสิตสัตวแพทย์อาสาสมัคร ชั้นปีที่ 6 คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมเดินทางไปยัง สโมสรกีฬาขี่ม้าโกลด์เด้นฮอร์ส (Golden Horse) โดยมี คุณอัญนา แจสิริ เป็นประธานชมรม และมี น.สพ.กฤษณะ วัชรารัตน์ สัตวแพทย์ประจำชมรม ร่วมดำเนินการจัดทำ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ที่จัดทำทะเบียนประวัติม้าทุกตัวในพื้นที่ของชมรม/สโมสรสมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้มีการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ (MOU : Public Private Partnership, PPP) ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนประชากรม้าอย่างละเอียด เพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบในการชี้แจงการขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า(African Horse Sickness Free Status) ของประเทศไทย กับทางองค์การสุขภาพสัตว์โลก(OIE)

ข้อมูลสรุปประชากรม้า สโมสรกีฬาขี่ม้าโกลด์เด้นฮอร์ส (Golden Horse) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 100/633 ซอย 12 หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร มีจำนวนม้า รวมทั้งสิ้น 35 ตัวในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณสโมสร สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการขอคืนสภาพปลอดโรคแอฟริกาในม้าแก่ประเทศไทยในอนาคต หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนย้ายม้าในสโมสรของท่าน กรุณาติดต่อสำนักงานเลขาธิการสมาคมฯ ที่เบอร์ติดต่อ 02-255-9188 เพื่อปรับปรุงและอัพเดทข้อมูลต่อไป

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Equine Laser Therapy การรักษาม้าด้วยเครื่องเลเซอร์”

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2563 เวลา 08.00 – 17.00 น. หน่วยม้าทรงประจำพระองค์ฯ

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Equine Laser Therapy การรักษาม้าด้วยเครื่องเลเซอร์” โดยมี อาจารย์สัตวแพทย์หญิง สุทธิชา ใจใส อาจารย์คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นผู้บรรยาย ณ หน่วยม้าทรงประจำพระองค์ โดยมีทหาร พลเรือน และมีสมาชิกชมรม/สโมสรสมาคม เข้าร่วมการอบรม รวม 18 ท่าน ซึ่งหัวข้อของการอบรมที่สำคัญคือ การวินิจฉัยโรคและเลือกวิธีรักษาด้วยเลเซอร์ได้อย่างแม่นยำ เพื่อส่งผลให้ไม่เป็นอันตรายต่อม้า การรักษาม้าด้วยเครื่องเลเซอร์ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นแสง เมื่อแสงเลเซอร์กระทบกับเซลล์ การทำงานของแสงเลเซอร์จะทำให้เกิดปฏิกิริยาในการช่วยยับยั้งหรือกระตุ้นการทำงานของเซลล์ได้ ซึ่งเป็นแนวทางการรักษาแบบใหม่ที่มีประโยชน์ต่อวงการกีฬาขี่ม้าอย่างยิ่ง

“โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ณ ชมรมแมคคอย สเตเบิ้ลส์

สมาคมขอความร่วมมือสมาชิก ชมรม/สโมสร เพื่อเดินหน้าต่อกับ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ตามนโยบายการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ เพื่อขอคืนสภาพปลอดโรคกับองค์กรสุขภาพสัตว์โลก (OIE)เมื่อวันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม 2563 เวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา

ผศ.น.สพ.ดร. เมธา จันดา ประธานคณะกรรมการฝ่ายสัตวแพทย์ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สมาคม และนิสิตสัตวแพทย์อาสาสมัคร ชั้นปีที่ 6 คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมเดินทางไปยัง ชมรมแมคคอย สเตเบิ้ลส์ (MCCOY STABLES) โดยมี คุณปพนวิช พักมณี เป็นประธานชมรม และมี น.สพ.วัชรพล ปฐมสกุลวงศ์ สัตวแพทย์ประจำชมรม ร่วมดำเนินการจัดทำ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ที่จัดทำทะเบียนประวัติม้าทุกตัวในพื้นที่ของชมรม/สโมสรสมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้มีการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ (MOU : Public Private Partnership, PPP) ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนประชากรม้าอย่างละเอียด เพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบในการชี้แจงการขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า(African Horse Sickness Free Status) ของประเทศไทย กับทางองค์การสุขภาพสัตว์โลก(OIE)

ข้อมูลสรุปประชากรม้า ชมรมแมคคอย สเตเบิ้ลส์ (MCCOY STABLES) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 123/1 หมู่ 15 ตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวดกาญจนบุรี มีจำนวนม้า รวมทั้งสิ้น 20 ตัวในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณสโมสร สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการขอคืนสภาพปลอดโรคแอฟริกาในม้าแก่ประเทศไทยในอนาคต หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนย้ายม้าในสโมสรของท่าน กรุณาติดต่อสำนักงานเลขาธิการสมาคมฯ ที่เบอร์ติดต่อ 02-255-9188 เพื่อปรับปรุงและอัพเดทข้อมูลต่อไป

ปศุสัตว์เดินหน้า รับรองสมุดประจำตัวม้า (TEF Passport) กรมปศุสัตว์ร่วมกับสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ประชุมความร่วมมือจัดทำโครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า

ปศุสัตว์เดินหน้า รับรองสมุดประจำตัวม้า (TEF Passport) กรมปศุสัตว์ร่วมกับสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ประชุมความร่วมมือจัดทำโครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า ตามข้อตกลงในบันทึกความร่วมมือ (MOU) เพื่อเตรียมการขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness Free Status) ของประเทศไทย พร้อมทั้งขออนุมัติให้รับรองหนังสือประจำตัวม้าของสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย (TEF Passport) ในวันพุธที่ 28 ตุลาคม 2563 เวลา 10.00 น. นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ และคณะเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ พร้อมกับ คุณเฉลิมฉาน ยศวิริยะพานิชย์ รองเลขาธิการสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย คุณปพิชญา สาระภี และ คุณปิยะธิดา ยอดที่รัก เจ้าหน้าที่สมาคม เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือในการจัดทำโครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า ณ ตึกชัยอัศวรักษ์ กรมปศุสัตว์ ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญในการประชุมโดยทางกรมปศุสัตว์ ได้รับรองหนังสือประจำตัวม้าของสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย (TEF Passport) ให้สามารถใช้แทนสมุดประจำตัวม้าของปศุสัตว์ และใช้เป็นเอกสารสำคัญในการระบุตัวตนม้าได้ ในกรณีที่เคลื่อนย้ายม้าด้วยสมุดประจำตัวม้าของกรมปศุสัตว์ ให้แนบเอกสารที่พิมพ์จากระบบ NID ของกรมปศุสัตว์ควบคู่ด้วย ถึงจะทำการเคลื่อนย้ายได้ พร้อมทั้ง การขึ้นทะเบียนม้าโดยระบบ NID เพื่อการตรวจสอบหรือประกอบการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ อีกทั้ง ได้หารือการวางแผนและกำหนดเงื่อนไขในการเคลื่อนย้ายม้า ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันตามมาตรการของกรมปศุสัตว์