สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย จัดทำ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” เพื่อเก็บข้อมูลจำนวนประชากรม้าที่แท้จริง และนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลในการชี้แจงขอคืนสถานภาพปลอดโรคต่อไป โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการโครงการ ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ทางสมาคมจึงใคร่ขอความร่วมมือจากท่าน โดยขอเข้าพื้นที่เพื่อสำรวจประชากรม้า ขอให้กรอกข้อมูลในใบสำรวจและโปรดส่งกลับมายังสำนักงานสมาคม ภายในวันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2563 ทางอีเมล [email protected]
เพื่อดำเนินการต่อไปข่าวการลงนามบันทึกการร่วมมือ MOU http://secretary.dld.go.th/…/6417-17-mou-african-horse…
สามารถดาวน์โหลดเอกสาร PDF ได้ที่นี่ …. https://drive.google.com/…/159JWlLbOjbRJbJpZQFh…/view…
สามารถดาวน์โหลดใบสำรวจประชากรม้า PDF ได้ที่นี่ …. https://drive.google.com/…/1GjX…/view…
28 September 2020Updated situation of AHS Situation in Thailand,The latest case of dead “Equidae” officially announced with following provinces.•Burirum 1 Equidae (11 August 2020)•Prachinburi 2 Equidae (10 September 2020)Source: THA DLD Website
องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organization for Animal Health หรือ Office International des Epizooties, OIE) ประกาศพบ ‘กาฬโรคแอฟริกาในม้า’ (African Horse Sickness : AHS) ในประเทศมาเลเซีย
Link OIE : https://www.oie.int/…/wahid.php/Reviewreport/Review…
วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม อาคาร Princess’s Cup กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์
โดยมี พันเอกพณศธร โพธิ์กล่ำ เป็นผู้แทน พันเอกสมพงษ์ สุขประดิษฐ ประธานคณะทำงาน เพื่อดำเนินการประชุม พร้อมด้วยกรรมการและตัวแทนจากหน่วยงาน อีกทั้ง 7 ท่าน คือ คุณพฤฒิรัตน์ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์, คุณเฉลิมฉาน ยศวิริยะพาณิชย์, คุณณกร กมลศิริ, ผศ.น.สพ.ดร.เมธา จันดา, คุณริชาร์ด ฮัมเป, พันตรีวิทยา เสนารัตน์ และ ร้อยเอกเอกลักษณ์ ทองคำ ผู้แทนจากหน่วยม้าทรงประจําพระองค์ มีประเด็นเกี่ยวกับความคืบหน้าสถานการณ์โรคระบาดกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness ; AHS) เช่น มาตรการป้องกันและควบคุมโรค เพื่อขอคืนสถานภาพรับรองปลอดโรคจากองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค สรุปรายงานภูมิคุ้มกันม้า การเก็บตัวอย่างแมลงในจังหวัดโคราช สรุปผลตรวจ AHS และผลการตรวจโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมตามลิงค์ด้านล่าง)
1.มาตรการป้องกันและควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness) เพื่อขอคืนสถานภาพรับรองปลอดโรคจากองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE)
Dowload PDF : https://drive.google.com/…/1ABX3Hne8sHb…/view…
2.Timeline การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness)
Dowload PDF : https://drive.google.com/…/1JvHjn6jMP9LLDIO5…/view…
3.สรุปภูมิคุ้มกันม้า
Dowload PDF : https://drive.google.com/…/1V8HjwQ27V7gXA-Z…/view…
4.เก็บตัวอย่างแมลง โคราชDowload PDF : https://drive.google.com/…/1g…/view…
5.สรุปผลตรวจAHS แบบย่อ
Dowload PDF : https://drive.google.com/…/1eisw9TpPdOYDzu5qGk5…/view…
6.เอกสารวิชาการ ผลการตรวจกาฬโรคแอฟริกาในม้า
Dowload PDF : https://drive.google.com/…/15eDxbeN…/view…
ซึ่งการประชุมได้แจ้งถึงการเข้าร่วมแถลงการณ์เกี่ยวกับโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า กับสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (Foreign Correspondents’ Club of Thailand ; FCCT) การให้คำชี้แจงเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายม้าไปยังพื้นที่อื่น ของคลับสมาชิก และประเด็นการเคลื่อนย้ายมาเพื่อเข้าร่วมแข่งขันกีฬาขี่ม้า หากทางกรมปศุสัตว์ได้ประกาศให้เคลื่อนย้ายได้แล้ว คณะทำงาน AHS จึงมีนโยบายที่จะวางแผนการทำงาน และกำหนดเงื่อนไขในการเคลื่อนย้ายม้าให้สอดคล้องต่อไป
วันที่ 7 สิงหาคม 2563 เวลา 9:30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานปศุสัตว์เขต 1 จังหวัดปทุมธานี
รายงานผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness)ในม้าลาย จากการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการเฝ้าระวังฯในม้าลาย โดยมีผลการตรวจ และสรุปรายงานผลตามเอกสารดังนี้ รายงานผลการดำเนินงาน คณะกรรมการด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกันในม้า ในม้าลาย Dowload Link for full report: https://drive.google.com/…/1KqmnhOwm-OSoI…/view…
1. สวนสัตว์นครราชสีมา
•มีจำนวนม้าลายทั้งสิ้น 2 ตัว
•เก็บผลเลือดตัวอย่าง 1 ตัว
•ผลการตรวจไม่พบเชื้อจากทั้งสองสองห้องปฏิบัติการ (สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติกรมปศุสัตว์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
2. โบนันซ่า Exotic Zoo (นครราชสีมา)
• มีจำนวนม้าลายทั้งสิ้น 7 ตัว
•เก็บผลเลือดตัวอย่าง 1 ตัว
• ผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัยมหิดลไม่พบเชื้อ แต่ผลจากห้องปฏิบัติการสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติรายงานว่าพบเชื้อ 1 ตัวอย่าง
3. Safari Wild Life Park (ปราจีนบุรี)
•มีจำนวนม้าลายทั้งสิ้น 59 ตัว
•เก็บผลเลือดตัวอย่าง5 ตัว
•ผลจากห้องปฏิบัติการสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติพบเชื้อ 2 ตัวอย่าง แต่ในขณะที่ผลจากห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัยมหิดลพบเชื้อ 3 ตัวอย่าง
4. หัวหินซาฟารี (ประจวบคีรีขันธ์)
•มีจำนวนม้าลายทั้งสิ้น 4 ตัว
•เก็บตัวอย่างเลือด 1 ตัว
•ผลการตรวจไม่พบเชื้อจากทั้งสองสองห้องปฏิบัติการ (สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติกรมปศุสัตว์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
5. บ.เรย์ลินก้า จำกัด
•มีจำนวนม้าลายทั้งสิ้น 235 ตัว•เก็บตัวอย่างเลือด 25 ตัว
•ผลจากห้องปฏิบัติการสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติพบเชื้อ 2 ตัวอย่าง แต่ในขณะที่ผลจากห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัยมหิดลพบเชื้อ 1 ตัวอย่าง
6.สวนสัตว์สนามบินสุโขทัย•มีจำนวนม้าลายทั้งสิ้น 13 ตัว
•เก็บตัวอย่างเลือด 2 ตัว
•ผลจากห้องปฏิบัติการสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติพบเชื้อ 1 ตัวอย่าง
แต่ในขณะที่ผลจากห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัยมหิดลไม่พบเชื้อซึ่งจากผลการเก็บตัวอย่างเลือดในม้าลาย ยังมีผลการตรวจเลือดในม้าลายในบางสถานที่มีความแตกต่างกัน ในที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ จึงมีความเห็นและมติให้ดำเนินการตรวจซ้ำตัวอย่างที่ห้องปฏิบัติการทั้งสอง (สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติกรมปศุสัตว์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) แสดงผลออกมาไม่เหมือนกัน โดยให้ใช้ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสนเป็นห้องปฏิบัติการที่สาม เพื่อเป็นการยืนยันอีกครั้ง โดยจะเร่งให้แล้วเสร็จแล้วแจ้งผลภายในอาทิตย์หน้า และเมื่อทราบผลแล้วจะแจ้งประกาศให้ทราบโดยทั่วกันนอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการควบคุมโรค AHS ในม้าลายและเรื่องเพื่อการพิจารณาทบทวนแนวทางมาตรการการควบคุมโรคแอฟริกาในม้า AHS ในม้าลาย ที่จะนำเสนอในโพสต่อไป อีกสักครู่
วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม 2563 ณ ชั้น 4 อาคารเคี่ยนหงวน 3
การประชุมคณะทำงานชุดพิเศษ ในช่วงสถานการณ์ระบาดของโรค“กาฬโรคแอฟริกาในม้า” (African Horse Sickness) ครั้งที่ 6 / 2563 ในวันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม 2563 จัดขึ้น ณ เคี่ยนหงวนเฮ้าส์โดยมี พันเอกพณศธร โพธิ์กล่ำ รับหน้าที่เป็นผู้แทน พันเอกสมพงษ์ สุขประดิษฐ ประธานคณะทำงาน เพื่อดำเนินการประชุม พร้อมด้วยกรรมการอีกทั้ง 7 ท่าน คือ คุณพฤฒิรัตน์ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์, คุณเฉลิมฉาน ยศวิริยะพาณิชย์, คุณณกร กมลศิริ, ผศ.น.สพ.ดร.เมธา จันดา, คุณริชาร์ด ฮัมเป, คุณนารา เกตุสิงห์ และ พันตรีวิทยา เสนารัตน์ เป็นผู้แทน ร้อยเอกปิยภูมิ ซอน เข้าร่วมการประชุมมีประเด็นเกี่ยวกับ โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า ในการจัดทำหนังสือประจำตัวม้า (Passport) และฝังไมโครชิพ (Microchip) ให้กับม้าทุกประเภทที่อยู่ภายใต้การดูแลของชมรมและสโมสร เป็นโครงการที่เกิดจาก การทำบันทึกความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับกรมปศุสัตว์ และหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน รวม 17 หน่วยงาน เพื่อกำจัดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness) สู่การขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness Free Status) แก่ประเทศไทย และแนวทางการทำงานของสมาคมในการให้ความร่วมมือต่อการทำแผนเผชิญเหตุ จากที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศรวมทั้ง วางแผนแนวทางดำเนินงานเกี่ยวกับกีฬาขี่ม้า ให้รองรับกับการจัดกิจกรรมภายในชมรม/สโมสรสมาชิก เพื่อให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการอัพเดทสถานะการณ์การประกาศเขตโรคระบาดของปศุสัตว์อำเภอในจังหวัดเพชรบุรีและสุโขทัยอีกด้วย
14 July 2020, National Institute of Animal Health, Bangkok Thailand.
สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับกรมปศุสัตว์ ผนึกกำลัง 16 หน่วยงาน ได้แก่ 1. กรมปศุสัตว์ 2. กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช 3. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 4. กรมประชาสัมพันธ์ 5. สัตวแพทยสภา 6. สมาคมสัตวแพทย์สวนสัตว์และสัตว์ป่า 7. ภาคีคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย 8. องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 9. สถานเสาวภา 10. สภากาชาดไทย 11. สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย 12. สมาคมกีฬาม้าแข่งไทย 13. สมาคมกีฬาขี่ม้าโปโลแห่งประเทศไทย 14. กรมการสัตว์ทหารบก 15. หน่วยม้าทรงประจำพระองค์ฯ 16. กองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ 17. ชมรมสัตวแพทย์บำบัดโรคม้า และ 18. มูลนิธิม้าไทย ลงนาม MOU กำจัดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า เร่งคืนสถานภาพปลอดโรคในไทยวันนี้ (14 กรกฎาคม 2563) สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับกรมปศุสัตว์ และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 18 หน่วยงาน ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) การกำจัดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness) ในประเทศไทย โดยบูรณาการความร่วมมือ ภายใต้แผนปฏิบัติการการกำจัดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า เพื่อคืนสถานภาพปลอดโรคจากองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) ของประเทศไทย โดย มร. ฮาราลด์ ลิงค์ นายกสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย นำทัพการขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติการ ร่วมกับสมาชิกสมาคมฯ อย่างเต็มที่
Date: 1 July 2020Time: 8.30am – 4pm Location: Calvary Center, Saraburi
EQUESTRIAN SEMINAR for the 10th generation of military coaching and training program 2020 Date: 1 July 2020Time: 8.30am – 4pm Location: Calvary Center, Saraburi Attendees: 25 -30 pax Topic of discussion: About FEI, AEF, SEAEF, and TEF / General information and updated rules of equestrian, National & International Competitions of both Olympic disciplines (Dressage, Jumping &Eventing) and Non-Olympic Disciplines (Endurance, Reining & etc) / VDO session and etc.
ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกัน โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (AHS:African Horse Sickness)
23 มิถุนายน 2563 ณ สโมสรไทยโปโล แอนด์ อีเควียสเตรียนคลับ พัทยา
วันนี้ ทางหน่วยม้าทรงประจำพระองค์ฯ กรมปศุสัตว์ และสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกัน โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (AHS:African Horse Sickness) โดยเน้นย้ำให้ตะหนักถึง การสร้างมุ้งป้องกันแมลง ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ แมลงดูดเลือดที่เป็นพาหนะนำโรคสู่ม้า พร้อมทั้งนำเครื่องมือฉีดพ่นสารฆ่าเชื้อโรคบริเวณ สโมสรไทยโปโล แอนด์ อีเควียสเตรียนคลับ พัทยา