สถานการณ์การระบาดของโรคระบาด”กาฬโรคในม้า (African Horse Sickness)” ประจำวันที่ 22 เมษายน 2563

**หมายเหตุ**….
🐎📕 ม้าสีแดง
– พื้นที่ที่มีม้าเสียชีวิตจากโรคระบาด African Horse Sickness Outbreak Area

🐎📒 ม้าสีเหลือง
– พื้นที่ที่มีม้าเสียชีวิต และรอผลชันสูตร
– พื้นที่ที่มีการเคลื่อนย้ายม้าจากจุดที่มีการแพร่ของโรคระบาด
– พื้นที่ที่มีการตรวจสอบพบว่ามีการเคลื่อนย้ายม้าจากจุดแพร่ระบาดของโรค และยังอยู่ในระยะเฝ้าระวัง หากพ้นระยะเฝ้าระวัง(2-20 วัน)แล้ว ไม่มีการรายงาน การพบโรคระบาดในพื้นที่ดังกล่าว สัญลักษณ์ม้าสีเหลืองจะถูกนำออกจากแผนที่ แต่หากพบหรือมีผลการตรวจเป็นโรค AHS สัญลักษณ์ม้าจะถูกเปลี่ยนเป็นสีแดงทันที
Suspected Outbreak Area

ข้อมูล: กรมปศุสัตว์ 20.04.2020

การตรวจเยี่ยมชมรมและสโมสรของสมาคมฯ

วันที่ 22 เมษายน 2563
สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย กรมปศุสัตว์ และปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร่วมเดินทางเข้าเยี่ยม สมาชิกของสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ซึ่งทางสโมสรได้มีการจัดเตรียมคอกม้าเป็นพื้นที่ป้องกันแมลงดูดเลือดและติดตั้งมุ้งตาละเอียดเป็นทีาเรียบร้อย พร้อมกันนี้ทางชมรมขี่ม้าเลิศนิมิต ยังได้มอบน้ำยากำจัดแมลงให้กับทางคณะเดินทาง เพื่อส่งมอบให้กับชาวบ้านในเขตพื้นที่ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์อีกด้วย 😊🙏🙏🙏

การแถลงข่าว”มาตรการคุมเข้ม กาฬโรคแอฟริกาในม้า(AHS) และการนำเข้าวัคซีนควบคุมโรค”

การแถลงข่าวจาก กรมปศุสัตว์ และ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ “มาตรการคุมเข้ม กาฬโรคแอฟริกาในม้า(AHS) และการนำเข้าวัคซีนควบคุมโรค” ในวันนี้ เวลา 11.00 น. ณ กรมปศุสัตว์

วัคซีน AHS ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย!!

• อยากได้ ใช้ฟรี แต่ต้องอยู่ในพื้นที่ระบาดเท่านั้น!!
• มีผู้บริจาควัคซีนให้กรมปศุสัตว์เพื่อควบคุมการใช้
• ก่อนใช้ต้องเตรียมพื้นที่เลี้ยงให้มีมุ้ง ปลอดแมลง
• ม้าต้องได้รับการตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีน
• วัคซีนจะไม่ถูกใช้กับม้าที่มีโรคอยู่แล้ว
• ฉีดแล้วต้องอยู่ในมุ้ง 28-40วัน ห้ามเคลื่อย้าย!
• นอกเขตพื้นที่ระบาดห้ามใช้วัคซีนโดยเด็ดขาด
• กรมปศุสัตว์เป็นผู้ควบคุมการใช้วัคซีน เท่านั้น!!!

อย่าลืม มาตราการการดูแลม้าในช่วงเวลาที่ม้าได้รับวัคซีน มุ้งยังต้องใช้ กำจัดแมลงดูดเลือดยังต้องทำ วัดอุณหภูมิเป็นประจำวันละสองครั้งเช้าเย็น สังเกตอาการม้าหลังได้รับวัคซีน กินข้าวทานน้ำหรือไม่ รักกันดูแลซึ่งกันและกัน ป่วยต้องแยก แจ้งสัตว์แพทย์ ม้าตาย ลักลอบขนย้ายแจ้งกรมปศุสัตว์ ช่วยกันให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อรักษาม้าที่เรารัก ❤️🙏❤️😊

ข้อมูล: กรมปศุสัตว์

การประชุมหารือ แผนปฏิบัติการควบคุม ป้องกัน โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness : AHS)

ในวันที่ 17 เมษายน 2563 เวลา 08.00 น. มร.ฮาราลด์ ลิงค์ นายกสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย พร้อมคณะ เดินทางเข้าร่วมประชุม “การประชุมหารือ แผนปฏิบัติการควบคุม ป้องกัน โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness ; AHS)” โดยมี นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ซึ่งมีประเด็นสำคัญจากการประชุม ดังนี้

1. พิจารณาแผนปฏิบัติการควบคุม และป้องกัน โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า AHS ให้มีรายละเอียดที่ชัดเจน พร้อมแนวทาง และหลักเกณฑ์การใช้วัคซีนในการควบคุมโรค ให้มีความชัดเจน
2. เร่งดำเนินการจัดซื้อวัคซีน เพื่อใช้ในการควบคุมโรคตามแผนโดยเร็ว
3. ขอความร่วมมือจากประธานชมรม/สโมสร หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการจัดหามุ้ง หรือตาข่าย เพื่อใช้ในการป้องกันแมลงที่เป็นพาหะแนะนำว่า ควรให้ม้าอยู่ในคอก ที่ใช้มุ้ง หรือตาข่าย ในการป้องกันแมลงดูดเลือด ซึ่งเป็นพาหะของโรคดังกล่าว
4. แนวทางในการกำจัดแมลงที่เป็นพาหะในการเกิดโรค ฉีดและพ่นยาฆ่าแมลง บริเวณคอกม้า และที่ ตัวม้า รวมถึงกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงดังกล่าว ในบริเวณใกล้เคียงให้หมดสิ้น

การควบคุม ป้องกัน โรคกาฬโรคในม้า เพื่อยุติโรคระบาด จะเกิดประสิทธิภาพได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยปฏิบัติตามข้อแนะนำของกรมปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด ที่สำคัญ งดการเคลื่อนย้ายม้าโดยเด็ดขาด ห้ามนำอาหาร หรืออุปกรณ์ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาด ออกไปยังพื้นที่อื่น และที่สำคัญ ต้องให้ความร่วมมือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงที่เป็นพาหะของโรค ในกรณีที่มีม้าป่วย ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ให้ทราบเพื่อดำเนินการทันที

การตรวจเยี่ยมชมรมและสโมสรของสมาคมฯ

หน่วยม้าทรงประจำพระองค์ กรมปศุสัตว์ และสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ได้เข้ามาเยี่ยม พ่นยาฆ่าเชื้อและให้ความรู้ เพื่อเตรียมการรับมือและป้องกันโรคระบาดในม้า (African Horse Sickness) ณ สโมสรกีฬาขี่ม้าโกลด์เด้นฮอร์ส

สถานการณ์การระบาดของโรคระบาด”กาฬโรคในม้า (African Horse Sickness)”

ประจำวันที่ 16 เมษายน 2563 เวลา 08.45 น.

**หมายเหตุ**….
🐎📕 ม้าสีแดง
– พื้นที่ที่มีม้าเสียชีวิตจากโรคระบาด African Horse Sickness Outbreak Area

🐎📒 ม้าสีเหลือง
– พื้นที่ที่มีม้าเสียชีวิต และรอผลชันสูตร
– พื้นที่ที่มีการเคลื่อนย้ายม้าจากจุดที่มีการแพร่ของโรคระบาด
– พื้นที่ที่มีการตรวจสอบพบว่ามีการเคลื่อนย้ายม้าจากจุดแพร่ระบาดของโรค และยังอยู่ในระยะเฝ้าระวัง หากพ้นระยะเฝ้าระวัง(2-20 วัน)แล้ว ไม่มีการรายงาน การพบโรคระบาดในพื้นที่ดังกล่าว สัญลักษณ์ม้าสีเหลืองจะถูกนำออกจากแผนที่ แต่หากพบหรือมีผลการตรวจเป็นโรค AHS สัญลักษณ์ม้าจะถูกเปลี่ยนเป็นสีแดงทันที
Suspected Outbreak Area

สถานการณ์การระบาดของโรคระบาด”กาฬโรคในม้า (African Horse Sickness)”

ประจำวันที่ 7 เมษายน 2563 เวลา 10.00 น.

**หมายเหตุ**….
🐎📕 ม้าสีแดง
– พื้นที่ที่มีม้าเสียชีวิตจากโรคระบาด African Horse Sickness Outbreak Area

🐎📒 ม้าสีเหลือง
– พื้นที่ที่มีม้าเสียชีวิต และรอผลชันสูตร
– พื้นที่ที่มีการเคลื่อนย้ายม้าจากจุดที่มีการแพร่ของโรคระบาด
– พื้นที่ที่มีการตรวจสอบพบว่ามีการเคลื่อนย้ายม้าจากจุดแพร่ระบาดของโรค และยังอยู่ในระยะเฝ้าระวัง หากพ้นระยะเฝ้าระวัง(2-20 วัน)แล้ว ไม่มีการรายงาน การพบโรคระบาดในพื้นที่ดังกล่าว สัญลักษณ์ม้าสีเหลืองจะถูกนำออกจากแผนที่ แต่หากพบหรือมีผลการตรวจเป็นโรค AHS สัญลักษณ์ม้าจะถูกเปลี่ยนเป็นสีแดงทันที
Suspected Outbreak Area