เวลา 7 โมงเช้าวันนี้ ตามเวลาของเวลาท้องถิ่นประเทศญี่ปุ่น ทีมนักกีฬาขี่ม้าโอลิมปิกประเภทอีเว้นติ้งไทย ลงสนามพร้อมม้าคู่ใจ ฝึกซ้อมการวิ่งในระยะทางยาวและด้วยความเร็ว (Galloping) เพื่อยืดกล้ามเนื้อและฝึกความอดทน รวมไปถึงการช่วยฝึกระบบการหายใจทั้งม้าและนักกีฬา ที่มีความจำเป็นต่อกีฬาขี่ม้าประเภทอีเว้นติ้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการแข่งกระโดดข้ามสิ่งกีดขวางในภูมิประเภท (Cross Country) ที่ผู้ขี่และม้าจะต้องทำวิ่งด้วยความเร็วในระยะทางที่มากกว่า 4 กิโลเมตร และต้องกระโดดเครื่องกีดขวางที่ได้ถูกออกแบบและวางไว้ตลอดเส้นทาง
โค้ชและทีมงานได้วางแผนในการจูงม้าเดิน กินหญ้า (พักม้า) หลังการ Gollop Training เพื่อให้ม้าได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ หลังจากการฝึกซ้อมในเช้าวันนี้ตามตารางที่ผู้จัดได้อนุญาต จัดตารางเวลา และเตรียมสนามไว้เพื่อให้ฝึกซ้อม และในช่วงเย็นวันนี้ นักกีฬาขี่ม้าไทยก็จะเข้าร่วมในพิธีเปิด Tokyo Olympic Games 2020/2021
ช่วงสุดสัปดาห์นี้โค้ช Maxime Livio และทีมได้ปรับแผนการฝึกซ้อมในช่วงกลางคืนเพื่อให้ม้าคุ้นและเคยชินกับแสงสปอร์ตไลท์ในสนาม ที่อาจมีการแสงเงาตกกระทบพื้นผิวสนาม ซึ่งทำให้ม้าตระหนกตกใจได้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการจำลองการฝึกซ้อมให้เข้ากับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นจริงในการแข่งขันขี่ม้าโอลิมปิคครั้งนี้ ซึ่งเจ้าภาพได้กำหนดเวลาแข่งขันกระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง (Jumping) หนึ่งในบททดสอบของการแข่งขันอีเว้นติ้งไว้ในช่วงค่ำของประเทศญี่ป่นอีกด้วย
ส่วนในช่วงเช้าของของวันเสาร์ที่ผานมา ช่างเกือกประจำทีม Mr.Arnaud Mottias, French Farrier ได้เดินทางมาจากประเทศฝรั่งเศส เพื่อมาแต่งกีบและทำเกือกให้กับม้าทุกตัวของมีนักกีฬาไทย เพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่า สภาพเกือก แน่น กระชับ เข้ารูปตามคุณลักษณะที่ดีของกีบม้าและอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ก่อนออกเดินทางไปเข้าร่วมการแข่งขันที่ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 20 กรกฎาคมนี่ และช่างเกือกจะเดินทางพร้อมกับสัตวแพทย์ทีม Dr.Olivier Geffroy (Veterinatian) ไปสมทบกับทีมที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อใกล้วันแข่งขันอีกด้วย
#TEFthailand#TEF#SAT#THANOC#equestrian#tokyoolympic#eventing
This decision was made together with the appointed team coach, Maxime Livio Thailand Equestrian Federation led by President Dr. Harald Link and supporters of this adventure.
The combination by alphabetical order:
• Arinadtha Chavatanont (Mint) Boleybawn Prince
Owned by
1. PRASERT CHAVATANONT
2. KANCHANAPORN CHAVATANONT
• Korntawat Samran Bonero K
Owned by
1. HARALD LINK and B.GRIMM
• Weerapat Pitakanonda (Bomb) Carnival March.
Owned by
1. HARALD LINK
2. NUNTHINEE TANNER
3. SUREEPORN PITAKANONDA
We will be accompanied by a full team:
Nara Ketusingha – Team Manager
Maxime Livio – Coach
Olivier Geffrey – Veterinarian
Arnaud Mottais – Farrier
Mathilde Montginoux – Head Groom
Pauline Gervais – Groom
Suphachai Sukhampha – Groom
MF Solution – Mental preparation
THA equestrian team would like to thank you especially, @Serge Balbin for all their daily work and all the energy he has put for years to make this possible.
A big thank you to Sport Authority of Thailand (SAT), Thailand Olympic Committee (THANOC), and B.Grimm, the biggest equestrian supporter in Thailand.
Also, sponsors which are following, they will be supported by the full team: Horse Pilot, Freejump, Antarès Sellier, Royal Horse, Greenpex, Ohlala Sellerie, Hoofgold
#Tokyo2020#Ecurielivio#TEFthailand#THANOC#SAT#BGRIMM
Credit Photo: Solene Bailly

นอกจากนี้ สมาคมเตรียมประกาศจัดการแข่ง 3 รายการหลัก Princess’s Cup, Thailand Championship และ President’s Cup ในช่วงค่อนปลายปี ที่อาจมีรูปแบบพิเศษเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรค Covid-19 และโรคระบาดม้า African Horse Sickness ที่มีแนวโน้มดีขึ้นหลังจากไม่พบการตายของม้ามานานกว่า 9 เดือน อีกทั้ง ทางปศุสัตว์ได้ทยอยลงวัคซีน AHS เข็มที่ 2 อย่างเต็มความสามารถ และดำเนินการไปได้กว่า 80% ของจำนวนม้าที่อยู่ในพื้นที่ที่มีประวัติการระบาดของโรค AHS และที่เคยได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 มาก่อนหน้านี้ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จ 100% อย่างเรียบร้อย ภายในปลายเดือนมิถุนายน 2564
เน้นยำ!! การดูแลม้าหลังจากที่ได้รับวัคซีนให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักการที่เคยได้ปฏิบัติมาก่อนหน้านี้ งดการเคลื่อนย้ายจนกว่าการดำเนินการฉีดวัคซีน AHS เข็มที่ 2 “จนแล้วเสร็จในทุกพื้นที่ที่ต้องได้รับตามมาตราการ” และเพื่อให้แน่ใจว่า “เชื้อเป็น” ในวัคซีนไม่หลงเหลือในตัวม้า (โดยประมาณ 30-45 วัน หลังจากได้รับวัคซีน) เจ้าของม้าสามารถส่งเลือดม้าไปตรวจที่หน่วยงานที่สามารถยืนยันผลด้วยวิธี PCR ได้ เช่น หน่วยงานชันสูตรโรคสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน หน่วยงานชันสูตรโรคสัตว์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา หรือหน่วยชันสูตรโรค African Horse Sickness (AHS) ที่ตรวจรับรองผลด้วยเทคนิค PCR ซึ่งจะต้องมีผลตรวจโรค AHS = Negative หรือเป็นลบเท่านั้น ก่อนเข้าพื้นที่การแข่งขัน
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ชมรม/สโมสรสมาชิกมีความประสงค์ที่จะจัดการแข่งขันภายในพื้นที่ หรือเตรียมความพร้อมที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในปลายปี 2564 สมาคมขอแจ้งให้ชมรม/สโมสรสมาชิกและเจ้าของม้าทราบว่า หลังจากที่ม้าได้ทำการฉีดวัคซีน AHS แล้ว และหากท่านมีความประสงค์จะจัดแข่งขันภายใน หรือนำม้าออกไปเข้าร่วมการแข่งขัน ทางสมาคมขอแนะนำให้ท่านโปรดคำนึงถึงการตรวจหาเชื้อ AHS ให้มีผลเป็นลบ และปฏิบัติตามขั้นตอนในการขออนุญาตเคลื่อนย้ายม้าจากกรมปศุสัตว์อย่างเคร่งครัดและถูกต้องเป็นสำคัญ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบต่อการคืนสภาพปลอดโรค AHS ของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ที่ทางสมาคมจะจัดการแข่งขันขึ้น และให้การแข่งขันกลับมาสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุด โดยอาศัยความร่วมมือจากชมรม/สโมสรและนักกีฬาทุกท่าน* การจัดการแข่งขันภายในของชมรม/สโมสรสมาชิก โดยไม่มีการเคลื่อนย้ายม้าเข้าหรือออกจากพื้นที่ สามารถดำเนินการจัดได้ตามปกติ ยกเว้นในกรณีที่ม้าได้สโมสรได้รับการฉีด AHS (เข็มที่2) ควรคำนึงถึงระยะเวลาพักม้าที่เหมาะสมก่อนนำกลับมาฝึกซ้อม และคำนึงถึงสวัสดิภาพของม้าเป็นสำคัญ* การจัดแข่งขันภายในของชมรม/สโมสรสมาชิก โดยมีการเชิญชมรม/สโมสรอื่นๆที่อยู่ในเขตพื้นที่สถานะเดียวกันเข้าเพื่อร่วมการแข่งขัน ผู้จัดการแข่งขันจำเป็นต้องให้ผู้ที่เข้าร่วม มีเอกสารดังนี้ 1. ผลการตรวจโรคที่ให้ผลเป็นลบ ตามข้อกำหนดของสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 1.1 Equine intectious anemia (ตรวจด้วยวิธี AGRD; coggin’s test หรือวิธีที่มีความจำเพาะสูงกว่า)1.2 Surra (ตรวจวิธี blood smear หรือ buffy coat หรือวิธีที่มีความจำเพาะสูงกว่า)1.3 African horse sickness (AHS) (ตรวจด้วยวิธี PCR หรือวิธีที่มีความจำเพาะสูงกว่า) 2. หนังสือประจำตัวม้าทีมีการลงทะเบียนอย่างถูกต้องของสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย (TEF) หรือสหพันธ์ขี่ม้านานาชาติ (FEI) 3. เอกสารการขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ตามระเบียบของกรมปศุสัตว์ เป็นต้นโปรดดูลิงค์ข้อมูลด้านล่างเพิ่มเติม
คุณสมบัติของม้าในการแข่งขัน ประจำปี 2564
PDF : https://drive.google.com/…/17OIfk9…/view…
Equine movement traceability
PDF : https://drive.google.com/…/1NXn7ifTe873TO…/view…

ส่งกำลังใจไปโปแลนด์ เชียร์ ทีมนักกีฬาขี่ม้าอีเว้นติ้ง โอลิมปิคเกมส์ ในการแข่งขัน Equestrian Festival Baborówko สำหรับ สุดสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม สามารถติดตามผล Live ตามลิงค์ข้างล่าง
https://zawodykonne.com/zawody/199/1
นักกีฬาขี่ม้าอีเว้นติ้งไทย ชุดโอลิมปิคเกมส์ ที่ทำการเก็บตัวฝึกซ้อมอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศส เดินทางเข้าร่วมการแข่งขันรายการ Equestrian Festival Baborówko ระหว่างวันที่ 27 – 30 พฤษภาคม 64 ณ Baborowko ประเทศโปแลนด์
มิ้น – อารีย์ณัฎฐา ชวตานนท์ พร้อมกับม้าหลัก Boleybawn Prince ร่วมการแข่งขัน ในระดับ CCI4*-S
บอม- วีรภัฎ ปิฏกานนท์ กับม้าสำรอง Carnival March ได้ร่วมการแข่งขัน ในระดับ CCI4*-L
นัท-กรธวัช สำราญ และ Bonero K ได้ร่วมการแข่งขัน ในระดับ CCI3*-S

ข้อบังคับและกติกาการแข่งขันขี่ม้าเล็ก
Pony Rule
PDF : https://tefthailand.com/wp-content/uploads/2019/01/TH-CH-2019-Regulation-Pony-Updated24-01-2019.pdf
ข้อบังคับและกติกาการแข่งขันศิลปะบังคับม้า
Dressage Rule
PDF : https://drive.google.com/file/d/1GGWcFvw4PUQ-IK5ugs7Ovoe6OxMcYDSp/view?usp=sharing
Forget everything you’ve been taught at college. It might seem clear to several the students, but a variety of people believe that it’s simply unexpected creating. Many pupils have no idea how to produce a decent scholarship composition. A student, who’d like to achieve school, should see a business that delivers its work in time. Their books was maintained in the shape of numerous codices in addition to identities.
Read More›