“โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ณ ชมรมขี่ม้า ตำรวจม้า 191

เดินหน้าต่อ!! ดำเนินการ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ตามนโยบายการลงการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ เพื่อขอคืนสภาพปลอดโรคกับองค์กรสุขภาพสัตว์โลก (OIE)วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2564 เวลา 13.00 น. ที่ผ่านมา

ผศ.น.สพ.ดร.เมธา จันดาประธานคณะกรรมการฝ่ายสัตวแพทย์ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สมาคม และนิสิตสัตวแพทย์อาสาสมัคร ชั้นปีที่ 6 คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เดินทางไปยัง ชมรมขี่ม้า ตำรวจม้า 191 (Mounted Police Club) โดยมี พ.ต.อ. วัชระ เทพแสน เป็นประธานชมรม ร่วมดำเนินการจัดทำ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ที่จัดทำทะเบียนประวัติม้าทุกตัวในพื้นที่ของชมรม/สโมสรสมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้มีการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ (MOU : Public Private Partnership, PPP) ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนประชากรม้าอย่างละเอียด เพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบในการชี้แจงการขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า(African Horse Sickness Free Status) ของประเทศไทย กับทางองค์การสุขภาพสัตว์โลก(OIE)

ข้อมูลสรุปประชากรม้า ชมรมขี่ม้า ตำรวจม้า 191 (Mounted Police Club) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 1271 ถนนเอกชัย แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร มีจำนวนม้า รวมทั้งสิ้น 54 ตัวในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณสโมสร สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการขอคืนสภาพปลอดโรคแอฟริกาในม้าแก่ประเทศไทยในอนาคต

หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนย้ายม้าในสโมสรของท่าน กรุณาติดต่อสำนักงานเลขาธิการสมาคมฯ ที่เบอร์ติดต่อ 02-255-9188 เพื่อปรับปรุงและอัพเดทข้อมูลต่อไป

อัพเดท! เจ้าของม้าชมรม/สโมสร สมาชิก ที่ได้ดำเนินการให้ข้อมูล ตามรูปแบบของระบบที่กรมปศุสัตว์จัดทำ (National Identification – NID)

อัพเดทเพิ่มเติม! เจ้าของม้าชมรม/สโมสร สมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ที่ได้ดำเนินการให้ข้อมูล ตามรูปแบบของระบบที่กรมปศุสัตว์จัดทำ (National Identification – NID) เพื่อให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายม้าได้อย่างปลอดภัย ในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณทั้ง 4 ชมรม / สโมสร ได้แก่

Ubon PonY Club
ชมรมขี่ม้าทหารม้ารักษาพระองค์
Goldenhorseridingclub
บัวทองแก้ว ฟาร์มสเตย์
Nakhon Si Riding Club

ที่ได้ให้ความร่วมมือสำหรับ การให้ข้อมูล ตามรูปแบบของระบบที่กรมปศุสัตว์จัดทำ (National Identification – NID) และสำหรับ เจ้าของม้าชมรม/สโมสร สมาชิกท่านใดต้องการให้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ https://drive.google.com/…/10vX9hYas2hIyaDfnjFR…/view… หรือ ส่งมาได้ที่ E-Mail : [email protected] ทางสมาคมจะมาคอยอัพเดทให้ทราบ และหวังเป็นอย่างยิ่งจะได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในการให้ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยค่ะ

“โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ณ ชมรมขี่ม้า ริเวอร์ไซด์ 92 ฮอร์สไรด์ดิ้ง

สมาคมเดินหน้าต่อ!! ดำเนินการ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ตามนโยบายการลงการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ เพื่อขอคืนสภาพปลอดโรคกับองค์กรสุขภาพสัตว์โลก (OIE)วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา

ผศ.น.สพ.ดร.เมธา จันดาประธานคณะกรรมการฝ่ายสัตวแพทย์ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สมาคม และนิสิตสัตวแพทย์อาสาสมัคร ชั้นปีที่ 6 คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เดินทางไปยัง ชมรมขี่ม้า ริเวอร์ไซด์92 ฮอร์สไรด์ดิ้ง (Riverside92 Horse Riding) โดยมี คุณปฏิการ มุขตารี เป็นประธานชมรม ร่วมดำเนินการจัดทำ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ที่จัดทำทะเบียนประวัติม้าทุกตัวในพื้นที่ของชมรม/สโมสรสมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้มีการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ (MOU : Public Private Partnership, PPP) ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนประชากรม้าอย่างละเอียด เพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบในการชี้แจงการขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า(African Horse Sickness Free Status) ของประเทศไทย กับทางองค์การสุขภาพสัตว์โลก(OIE)

ข้อมูลสรุปประชากรม้า ชมรมขี่ม้า ริเวอร์ไซด์92 ฮอร์สไรด์ดิ้ง (Riverside92 Horse Riding) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 148/2 บีรพันธ์ 3 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 92 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร มีจำนวนม้า รวมทั้งสิ้น 14 ตัวในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณสโมสร สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการขอคืนสภาพปลอดโรคแอฟริกาในม้าแก่ประเทศไทยในอนาคต

หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนย้ายม้าในสโมสรของท่าน กรุณาติดต่อสำนักงานเลขาธิการสมาคมฯ ที่เบอร์ติดต่อ 02-255-9188 เพื่อปรับปรุงและอัพเดทข้อมูลต่อไป

“โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ณ ชมรมขี่ม้าอีเควสเทรี่ยนพาราไดซ์

สมาคมร่วมมือกับขมรม/สโมสร สมาชิก เดินหน้าดำเนินการ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ตามนโยบายการลงการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ เพื่อขอคืนสภาพปลอดโรคกับองค์กรสุขภาพสัตว์โลก (OIE) วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00 น. ที่ผ่านมา

เจ้าหน้าที่สมาคม เดินทางไปยัง ชมรมขี่ม้าอีเควสเทรี่ยนพาราไดซ์ (Equestrian Paradice) โดยมี คุณ สุเนตร บุรกสิกร เป็นประธานชมรม ร่วมดำเนินการจัดทำ “โครงการเก็บข้อมูลประชากรม้า” ที่จัดทำทะเบียนประวัติม้าทุกตัวในพื้นที่ของชมรม/สโมสรสมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้มีการลงนามให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ (MOU : Public Private Partnership, PPP) ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนประชากรม้าอย่างละเอียด เพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบในการชี้แจงการขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า(African Horse Sickness Free Status) ของประเทศไทย กับทางองค์การสุขภาพสัตว์โลก(OIE)

ข้อมูลสรุปประชากรม้า ชมรมขี่ม้าอีเควสเทรี่ยนพาราไดซ์ (Equestrian Paradice) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 9/1 หมู่ 3 คลอง 15 ตำบลคลองใหญ่ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก มีจำนวนม้า รวมทั้งสิ้น 43 ตัวในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณสโมสร สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการขอคืนสภาพปลอดโรคแอฟริกาในม้าแก่ประเทศไทยในอนาคต

หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนย้ายม้าในสโมสรของท่าน กรุณาติดต่อสำนักงานเลขาธิการสมาคมฯ ที่เบอร์ติดต่อ 02-255-9188 เพื่อปรับปรุงและอัพเดทข้อมูลต่อไป

การประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2564

วันพุธที่ 31 มีนาคม 2564 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารเคี่ยนหงวน 3 ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ

การประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2564 โดยมี คุณฮาราลด์ ลิงค์ นายกสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย เป็นประธานในที่ประชุม พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารสมาคม คือ คุณพงษ์เทพ เจียรวนนท์, คุณนันทินี แทนเนอร์, พันเอก วิทัย ลายถมยา, พันเอก สมพงษ์ สุขประดิษฐ, คุณนารา เกตุสิงห์, คุณเฉลิมฉาน ยศวิริยะพาณิชย์, คุณณกร กมลศิริ, คุณสมพล วงศ์วิวัฒน์, คุณวีรพงค์ อัครพสุชาติ, คุณดิษฐกร พันธาภา, คุณสุวัชร์ บุญลือ, คุณริชาร์ด ฮัมเป, ผศ.น.สพ.ดร.เมธา จันดา, คุณเลิศพงษ์ มั่นวงศ์ และ คุณดวงจิตร วิภาเจริญวงศ์ พลเอก ไตรรัตน์ รังคะรัตน ประธานที่ปรึกษา และที่ปรึกษาสมาคม คือ พลเอก หม่อมราชวงศ์ กฤษต กฤดากร, พลตรี เกียรติคุณ สุทธิรักษ์, คุณแววรัตน์ กมลคนธ์, คุณอัญนา แจสิริ, คุณกระเษม กัณฑมณี, สพ.ญ.ดร.ศิรยา ชื่นกำไร, คุณอารีย์ ไหลกุล, ร้อยเอก มานะ สอนกระโทก, คุณยอดชาย มีโชคชัย, คุณรังษี จูดี ผู้แทนจากการกีฬาแห่งประเทศไทย คือ คุณยุธยา จีนหีต ผู้อำนวยการกององค์กรและพัฒนากีฬาเป็นเลิศ และ คุณรุ่งทิวา ชูมี พนักงานบริหารงานทั่วไป 6 อีกทั้ง ประธานและผู้แทนของชมรม/สโมสรสมาชิก เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวซึ่งการประชุมครั้งนี้ เป็นการรายงานผลการดำเนินงานของสมาคมในปี 2563 ที่ผ่านมา รวมถึงการให้ข้อมูลสถานการณ์อัพเดทในปัจจุบันของการเตรียมทีมเข้าร่วมการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิค ปัญหาและอุปสรรคต่างๆในสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบันที่เกิดขึ้นในการเก็บตัว โดยโค้ชชาวฝรั่งเศสและนักกีฬาไทยได้ร่วมการรายงานในการประชุมในครั้งนี้ด้วย อีกทั้งทางสมาคมได้มีการพูดคุย รับฟังปัญหา และรับฟังข้อเสนอ ความคิดเห็นต่างๆ ของสมาชิกสมาคม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการวางแผนและดำเนินงานของสมาคมในลำดับต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดตารางการแข่งขันให้สอดคล้องต่อสถานการณ์โรคระบาดคนและม้า ทางคณะอนุกรรมการฝ่ายในแต่ละชนิดกีฬาขี่ม้าได้ทำงานอย่างเต็มที่เต็มความสามารถ และสมาคมได้พิจารณาและมีความตระหนักต่อการดำเนินการต่างๆ ให้ปราศจากความเสี่ยงต่อการเกิดระบาดโรคซ้ำ และให้สมาชิกทุกท่าน ได้สามารถกลับมาร่วมดำเนินกิจกรรมและการแข่งขันได้อย่างเต็มที่เต็มความสามารถต่อไปในอนาคต ถึงแม้สถานการณ์โรคระบาด AHS ในประเทศมีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น แต่เรายังอยู่ในช่วงการป้องกันและเฝ้าระวัง ซึ่งกรมปศุสัตว์มีแผนการฉีดวัคซีน AHS เข็มที่ 2 กับม้าที่เคยได้รับวัคซีน AHS เข็มที่ 1ไปแล้ว และม้าที่อยู่หรือเกิดใหม่ในพื้นที่ที่เคยมีประวัติการระบาดของโรค AHS (โดยคาดว่ากรมปศุสัตว์จะชี้แจงมาตราการต่อไปโดยเร็ว เพราะมีการจัดประชุมเตรียมความพร้อมในการวางแผนการใช้วัคซีนเข็มที่สอง ในวันและเวลาเดียวกับการประชุมใหญ่ สามัญของสมาคมนี้) ตามรายละเอียดที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น เป็นไปตามหลักปฏิบัติสากลที่ปรากฏข้อมูลบางส่วนในคู่มือขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE – AHS Guidelines) โดยสมาคมยังให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้มีการจัดการแข่งขันในพื้นที่คลับสมาชิก ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อเป็นการกระจายการจัดการแข่งขัน ฝึกซ้อม ในช่วงสถานการณ์เฝ้าระวังโรคระบาดม้า และเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายการขนย้ายม้าในการเข้าร่วมต่างพื้นที่ และเพิ่มจำนวนและโอกาสการเป็นผู้จัดการแข่งขัน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้การเตรียมความพร้อมของคนและม้า ต่อการแข่งขันรายการหลักของสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยในช่วงปลายปี อาทิเช่น President’s Cup / Thailand Championship / Princess’s Cup 2021*** “อาจจะ” มีการยกเลิกสนามเก็บคะแนนหรือไม่นั้น หรือจะต้องปรับใช้เป็นกรณีพิเศษสำหรับในปีนี้ ให้สอดคล้องกับมาตรการต่างๆ ให้ครบทุกมิติ รวมไปถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน และนโยบายของคณะกรรมการบริหารสมาคม โดยสมาคมจะประกาศแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันในลำดับต่อไป ในโอกาสนี้สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอแสดงความขอบคุณ การกีฬาแห่งประเทศไทย กรมปศุสัตว์ คณะกรรมการ คณะที่ปรึกษา สมาชิกชมรม/สโมสร เจ้าหน้าที่ตลอดจนผู้สนับสนุนและเกี่ยวข้องทุกท่านในกีฬาขี่ม้า ที่เข้าใจและสนับสนุนการดำเนินงานของสมาคมในสถานการณ์ปัจจุบันที่ไม่สามารถละเลยความเสี่ยงในเรื่องของสวัสดิภาพม้า และกีฬาของพวกเราในภาพรวมได้ และต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ สำหรับข้อกังวลบางเรื่องโดยเฉพาะสถานการณ์โรคระบาดที่อยู่เหนือการควบคุมและอยู่เหนือขอบเขตหน้าที่ของสมาคม หมายเหตุ***การจัดการแข่งขันรายการหลักดังกล่าวข้างต้นในช่วงปลายปี 2564 จะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่โรคระบาดม้า AHS สงบ และไม่ที่มีการอุบัติโรคม้าซ้ำใหม่ขึ้น และการดำเนินการต้องมีขั้นตอนการดำเนินการที่สอดคล้องต่อมาตราการของกรมปศุสัตว์ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย(TEF) สหพันธ์กีฬาขี่ม้านานาชาติ (FEI) และการยึดหลักสวัสดิภาพของม้าส่วนร่วมเป็นหลัก โดยสมาคมจะแจ้งตาราง วัน เวลา และกำหนดการในลำดับต่อไป

Mental Coaching Workshop for THA Eventing Team

Mental Coaching Workshop for THA Eventing Team at Ecurie Livio by Professional French Mental coaches, Maxime Chataigner & Franck Larrey – MF Solution

นอกเหนือจากการฝึกซ้อมขี่ม้าอย่างต่อเนื่องเป็นประจำของทีมขี่ม้าอีเว้นติ้งชุดเตรียมทีมโตเกียวโอลิมปิก กับโค้ชชาวฝรั่งเศส Maxime Livio (Ecurie Livio) ณ เมืองเซอร์มู ประเทศฝรั่งเศส สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยยังได้มีแผนให้นักกีฬาเข้าร่วมคอร์สพัฒนาและอบรมเชิงปฏิบัติการทางจิตใจ (Mental Coaching Workshop) กับนักจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญ ชาวฝรั่งเศส Mr.Maxime Chataigner และ Mr.Franck Larrey ผู้มีประสบการณ์และที่ปรีกษาให้กับหลายสมาคมกีฬาของประเทศฝรั่งเศสในด้าน Mental Coaching การอบรมมุ่งเน้นการฝึกฝนร่างกายและสมองอย่างเป็นระบบ เพื่อให้มีสติและสามารถเผชิญและจัดการกับความเครียด (Stress) หรือแรงกดดัน (Pressure) ที่อาจเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างการแข่งขัน โดยเป็นวิสัยทัศน์และความตั้งใจของคุณฮาราลด์ ลิงค์ นายกสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ที่สนับสนุนและส่งเสริมให้นักกีฬาได้ผ่านการฝึกอบรม และสามารถจัดการควบคุมสติและจิตใจต่อปัจจัยรอบตัว (Eco System) ที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงการแข่งขันอย่างไม่รู้ตัว หรือการฝึกสมาธิให้มีจิตใจจดจ่อต่อสิ่งที่กำลังกระทำโดยคลายความกังวลและกดดัน (Stress & Pressure) หรือแม้แต่การสร้างลักษณะนิสัยที่ตื่นตัวในยามที่บางครั้งตนเองรู้สึกผ่อนคลายมากเกินไป (too relax) จนขาดความตั้งใจ ซึ่งต้องใช้การฝึกฝนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำเพื่อให้เกิดความสมดุล (Balance) สมองได้รับการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ เสมือนการออกกำลังกายให้กับร่างกายในส่วนอื่นๆ ที่มีหลายวิธีปฏิบัติ แต่ในขั้นพื้นฐานมีวิธีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้เร็ว สามารถอธิบายอย่างเห็นภาพได้ชัดเจนและใกล้ตัวเราคือการทำสมาธิ(Meditation) ที่ใช้การกำหนดลมหายใจเข้า-ออกอย่างถูกวิธีและมีคุณภาพจากการวิจัยและการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญพบว่าการหยุดหายใจ(โดยไม่รู้ตัว)เกิดขึ้นในนักกีฬาหลายประเภทในขณะที่เกิดร่างกายเกิดความเครียดหรือความตื่นเต้น ดังนั้นการฝึกหายใจให้เป็นระบบ หรือเป็นระดับ ในทางวิทยาศาสตร์ถือว่ามีส่วนช่วยเพิ่มอ๊อกซิเจนให้แก่ร่างกายและสมอง ซึ่งสามารถช่วยลดการกดดันและความเครียดได้ในระดับหนึ่ง หากฝึกให้สมองและร่างกายคุ้นชินในขณะทำการฝึกซ้อม-แข่งขันก็สามารถยิ่งเพิ่มสติ สมาธิได้เป็นอย่างดีสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการอบรมเชิงปฏิบัติการทางจิตใจ(Mental Coaching)ในที่นี้ นอกจากการสร้างแรงขับเคลื่อนเชิงบวก (Motivation) มีการอธิบายอย่างเป็นเหตุเป็นผลแบบวิทยาศาสตร์ ยังมีการนำเครื่องมือเพื่อช่วยเสริมกระบวนการการวิเคราะห์รายบุคคล ที่สามารถแสดงผลออกมาในรูปแบบกราฟเพื่อใช้ประกอบเกณฑ์ชี้วัดในระดับต่างๆ เพื่อปรับใช้ในการพัฒนาสร้างความสมดุลของนักกีฬาแต่ละคนให้สอดคล้องในองค์ประกอบและปัจจัยรอบด้านของนักกีฬาแต่ละคนอีกด้วย ซึ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการ Mental Coaching โครงการนี้เป็นแผนระยะยาวที่จำเป็นต้องดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง อย่างมีแบบแผนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทีมนักกีฬาขี่ม้าไทยในอนาคตอีกด้วย

อัพเดท! เจ้าของม้าชมรม/สโมสร สมาชิก ที่ได้ดำเนินการให้ข้อมูล ตามรูปแบบของระบบที่กรมปศุสัตว์จัดทำ (National Identification – NID)

อัพเดทเพิ่มเติม! เจ้าของม้าชมรม/สโมสร สมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ที่ได้ดำเนินการให้ข้อมูล ตามรูปแบบของระบบที่กรมปศุสัตว์จัดทำ (National Identification – NID) เพื่อให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายม้าได้อย่างปลอดภัย ในโอกาสนี้ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณทั้ง 6 ชมรม / สโมสร ได้แก่

บ้านม้าควนพลา
ชมรมขี่ม้าตำรวจ 191
El caballo club
Suphan Horses Sport Club
Chaengwattana Horse Club
Sky White Horse Riding Club สกายไวท์ ฮอร์ส ไรดิ้ง คลับ

ที่ได้ให้ความร่วมมือสำหรับ การให้ข้อมูล ตามรูปแบบของระบบที่กรมปศุสัตว์จัดทำ (National Identification – NID) และสำหรับ เจ้าของม้าชมรม/สโมสร สมาชิกท่านใดต้องการให้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ https://drive.google.com/…/10vX9hYas2hIyaDfnjFR…/view… หรือ ส่งมาได้ที่ E-Mail : [email protected] ทางสมาคมจะมาคอยอัพเดทให้ทราบ และหวังเป็นอย่างยิ่งจะได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในการให้ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยค่ะ